Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/719
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิเศษ, สหัทยา-
dc.date.accessioned2022-03-29T09:39:12Z-
dc.date.available2022-03-29T09:39:12Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/719-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดข้อบัญญัติท้องถิ่น และกฎหมายที่รองรับอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อ พัฒนาข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการ แบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้ำอิง และเพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาข้อบัญญัติของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์ จากป่าชุมชนในลุ่มน้ำอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำและประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน ๒๕ คน ในพื้นที่ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย และตำบลบ้านตุ่น อำเภอ เมือง จังหวัดพะเยา ผลการวิจัยพบว่า ๑. แนวคิดข้อบัญญัติท้องถิ่นและกฎหมายที่รองรับอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นไปตามสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 25๖๐ ที่รับรองอำนาจขององค์กรปกครองท้องถิ่นใน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ทั้งนี้การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติมีเป้าหมายเพื่อรับรองสถานะและรับรองการใช้ประโยชน์ และการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน เพื่อกระจายอำนาจและถ่ายโอนอำนาจการจัดการทรัพยากรให้ชุมชน และเพื่อเสริมพลังจากการปฏิบัติการ การเรียนรู้ และการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยกระบวนการจัดทำ ข้อบัญญัติท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการสำรวจข้อมูลชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการกลไก การทำงาน การยกร่างข้อบัญญัติ การประชาพิจารณ์ร่างข้อบัญญัติ การนำเข้าสู่กระบวนการสภา โดย มีขั้นตอนคือ การยื่นเสนอร่างข้อบัญญัติฯ การตรวจสอบรายชื่อ และการพิจารณาร่างและลงมติ การ ขออนุมัติต่อนายอำเภอ และการประกาศใช้ข้อบัญญัติ ทั้งนี้หลักเกณฑ์ทางกฎหมายในการออก ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีความแตกต่างกันตามประเภทขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสามารถทำได้ตามกฎหมายจัดตั้ง และกฎหมายเฉพาะเรื่อง ข ๓. แนวทางการพัฒนาข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชน ประกอบด้วย ๑) ด้านเป้าหมายในการ พัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อรับรองสถานะ และรองรับการจัดการและการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อกระจายอำนาจและถ่ายโอนการกระจายอำนาจการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่ชุมชน และเพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วมของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒) ด้านองค์ประกอบของเนื้อหาในข้อบัญญัติท้องถิ่น จะมีลักษณะเดียวกับกฎหมายข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยมีการแยกออกเป็นหมวด เรียงตามลำดับประเด็น หลัก ประเด็นรอง และส่วนที่เป็นเนื้อหาอื่นที่ไม่ใช่ข้อกฎหมายจะอยู่ในภาคผนวก ๓) กระบวนการใน การดำเนินงานพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจร่วมกันของชุมชนและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดการระบบฐานข้อมูลชุมชน และกระบวนการเรียนรู้ของคนใน ชุมชน ๔) ปัจจัยในการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่น แบ่งออกเป็นปัจจัยภายในชุมชนคือ บริบทชุมชนที่มี ความพร้อมในทุกๆด้านและความเหมาะสมในการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม ส่วนปัจจัยภายนอกชุมชน คือ การหนุนเสริมจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการ ดำเนินงานในรูปแบบของการจัดการร่วม และ ๕) ข้อควรคำนึงในการพัฒนาข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่ง จะต้องมีการสร้างความเข้าใจร่วมกันของคณะทำงาน ไม่รีบเร่งและใช้ระยะเวลาในการทำข้อบัญญัติ ท้องถิ่น การศึกษาเอกสารข้อมูล หลักคิด ทฤษฎี หลักการตราข้อบัญญัติท้องถิ่น และข้อกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectป่าชุมชนen_US
dc.subjectข้อบัญญัติท้องถิ่นen_US
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subjectลุ่มน้ำอิงen_US
dc.titleกระบวนการพัฒนาข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการอนุรักษ์ การ ใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้ำอิง จังหวัดพะเยา-เชียงรายen_US
dc.title.alternativeThe local Act Process of Local Administrative Organization on Community Forest Conservation, Utilization and Benefit Sharing in Ing Basin in Phayao – Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-180ผศ.ดร.สหัทยา วิเศษ.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.