Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/716
Title: | เกษตรวิถีพุทธ : แนวคิดและการจัดการบนพื้นฐานของพลังชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี |
Other Titles: | Buddhist Agriculture: Concept and Management Based on Community Power: A Case Study of Udonthani Province |
Authors: | วรญาโณ, พระมหาปริญญา พระธรรมวิมลมุนี พระครูภาวนาธรรมโฆษิต ปญฺญาวโร, พระมหาประหยัด สินธุ์นอก, บุญส่ง ชัยประโคม, อินตอง |
Keywords: | เกษตรวิถีพุทธ แนวคิด การจัดการ พื้นฐานของพลังชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกษตรวิถีพุทธในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดและการเกษตรวิถีพุทธของศูนย์ปฏิบัติธรรมสถาน ส่วนป่าทุ่งนาคำหลวง และกลุ่มเครือข่าย และ ๓) วิเคราะห์การเกษตรวิถีพุทธกับการสร้างพลังชุมชนในจังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากพระไตรปิฎก หนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ ภาคสนาม (Field Study) เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปวิเคราะห์ประกอบงานวิจัยเรื่องนี้ ด้วยวิธีเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรแนวพุทธเป็นเกษตรที่ถือเอาแม่แบบของมัชฌิมปฏิปทาหรือทางสายกลางในการทำงาน ไม่เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น ดำเนินกิจกรรมด้วยหลักทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์ คือ ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตชอบ และมีหลักธรรมที่มีความสำคัญอีก ๕ ประการ คือ ด้านจิตใจ เป็นที่พึ่งของตนเอง ด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้และจัดการอย่างฉลาด ด้านเทคโนโลยีและด้านเศรษฐกิจ ลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ โดยนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ กับการแก้ปัญหาเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรวิถีพุทธ เพื่อให้เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง การพัฒนาเกษตรแนวพุทธของสำนักธรรมสถานสวนป่าทุ่งนาคำหลวง พบว่า สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชาวบ้าน เป็นต้นแบบที่ดีของการดำเนินงานเกษตรวิถีพุทธของสังคม เพราะได้ช่วยเหลือชุมชน ด้วยการสร้างเกษตรวิถีพุทธ ทำให้เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจ และช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในครอบครัวชุมชนให้ยั่งยืนได้ ด้วยการนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเกษตรให้เข้ากับพื้นที่ของตน เช่น หลักศีล ๕ อิทธิบาท ๔ และสังคหวัตถุ ๔ เป็นต้น การสวดมนต์ทุกครั้งในขณะปลูกพืชทุกชนิด นอกจากการสวดเพื่อขจัดอันตราย และทำความคุ้มครองให้มั่นคงแล้วก็ยังงอกงามเหมือนเดิม แต่พิธีสวดมนต์นี้ก็ยังสร้างความมั่นใจและเกิดสมาธิในการที่จะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ ให้มีความเจริญเติบโตขึ้นมาได้ตามความประสงค์ การนำบทสวดมนต์มาประยุกต์ใช้ในทางการเกษตร จึงเป็นการเหมาะสมกับยุคสมัย เพราะเป็นการผสมผสานนวัตกรรมร่วมกับเกษตรวิถีพุทธ หากผู้ปฏิบัติตั้งใจทำ ก็จะสามารถดำรงชีพได้อย่างพอเพียง และสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ภายในครอบครัวและสังคมได้ ด้านผลสำเร็จของกลุ่มสมาชิกที่นำแนวคิดการเกษตรวิถีพุทธ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน พบว่า สมาชิกกลุ่มเครือข่ายเกษตรวิถีพุทธ และประชาชนทั่วไปที่มาศึกษาดูงาน ได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติก็ได้ประสบความสำเร็จ ทำให้พลังชุมชนในแหล่งนั้น เกิดความเข้มแข็ง สามารถปรับวิถีชีวิตของตนอย่างเห็นได้ชัด เป็นที่น่าพอใจ ดังตัวอย่างชุมชนบ้านนาคำหลวง ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี, ชุมชนบ้านเพีย ตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ, ชุมชนบ้านดอนคง ตำบลอุ่มจาน อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และชุมชนบ้านป่าปอ แดง ตำบลจำปี อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่เป็นแนวทางในการแก้ไขเศรษฐกิจ ชุมชนได้ในทางหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นได้ไม่นาน คือ การลดค่าใช้จ่ายในการบริโภคให้น้อยลงได้อย่าง เหมาะสม มีการปลูกพืช ผลไม้ไว้บริโภคในไร่นาของตน อีกทั้งมีความตระหนักว่าชีวิตของมีความปลอดภัย เพราะไม่ต้องเสี่ยงภัยที่เกิดจากสารพิษตกค้าง ทำให้มีความสุขสงบในการดำรงชีวิต เพราะได้อยู่กับธรรมชาติ มากขึ้น และมีการก่อให้เกิดการช่วยเหลือกันในชุมชน ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ทำให้ไม่ต้องซื้อหาพืชผักบาง ชนิด เพราะคนในชุมชนจักปลูกพืชผักเพื่อการบริโภคเองตามที่ตนสามารถทำได้ ไม่เดือดร้อน เพราะตนเป็นที่ พึ่งของตนได้ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/716 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-139พระมหาปริญญา วรญาโณ, ดร.pdf | 4.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.