Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/714
Title: | การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
Other Titles: | The Building of cultural Tourist Network between Chiang Khan province,Thailand and Luang Prabang City, Laos |
Authors: | พิริยสุวัฒน์, จิรกิตต์ภณ โคกโพธิ์, พระราชปรีชามุนี สนฺตมโน, พระธนากร วรรณะ, อาทิตย์ |
Keywords: | การสร้างเครือข่าย การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดเลย เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” วัตถุประสงค์ คือ ๑) ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเมืองหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ๒) ศึกษากระบวนการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ ๓) สังเคราะห์ / พัฒนาการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเมืองหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชาชนในเขตอาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ๓๙๗ คน และการสัมภาษณ์เจาะลึก ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย ผู้รู้ (Keys persons) เขตอาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งสิ้น ๕๖ คน ผลการศึกษา พบว่า คือ ๑) ศักยภาพการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเมืองหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พระพุทธศาสนา เป็นสถาบันทางสังคมที่สาคัญซึ่งมีอิทธิพลในการกาหนดความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมอันเป็นแบบวิถีชีวิต คุณค่าเชิงวัฒนธรรม คุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมความเป็นเอกลักษณ์ด้านวิถีชีวิต ภูมิปัญญา และองค์ความรู้มีเอกลักษณ์ระดับภูมิภาค สืบเนื่องจาก ประเพณี วัฒนธรรมมีความผูกพันต่อท้องถิ่น และมีความสัมพันธ์กับชุมชนสูง เกิดความงดงามทางด้านศิลปวัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวสามารถสร้างความประทับใจ เป็นสิ่งดึงดูดใจต่อนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ๒) กระบวนการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พระพุทธศาสนา มีอิทธิพลกับการเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรทั้ง ๒ ประเทศ ที่ทางานพึ่งพิงซึ่งกัน ส่งผลให้สมาชิกของเครือข่ายเกิดความรู้สึกผูกพันในการดาเนินกิจกรรมร่วมกันแก้ปัญหา คือ ความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนไว้ใจกัน เช่น เครือข่ายภาครัฐ, ธุรกิจเอกชน, ภาคประชาชน / เครือข่ายการส่งเสริมการลงทุน และการท่องเที่ยว/ ข เครือข่ายการศึกษา, พระพุทธศาสนา/ และเครือข่ายออนไลน์ ๓) พัฒนาการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเมืองหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สื่อออนไลน์ เป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เข้าถึงนักท่องเที่ยวในการเข้าถึงข้อมูลรวมถึงการทาธุรกรรมแบบออนไลน์ เช่น ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว การจองตั๋วเครื่องบิน จองตั๋วรถโดยสาร การจองที่พัก บริการรถเช่า โดยสามารถชาระเงินผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และง่ายสาหรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งสื่อทางทีวี และภาพยนตร์ ที่ช่วยประชาสัมพันธ์ทาให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/714 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-126ดร.จิรกิตต์ภณ พิริยสุวัฒน.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.