Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/713
Title: การพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง
Other Titles: Developing and Strengthening a Network of Cross-Cuttural Lenrning Civilization of Chiang Strengthening CitiZenship in the Mekong Sub-Region
Authors: พลเมืองดี, วันชัย
Keywords: กระบวนการเรียนรู้
เครือข่าย
ข้ามวัฒนธรรม
ภูมิภาคลุ่มน้าโขง
อารยธรรม ๕ เชียง
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง มีโครงการย่อยภายใต้โครงการแผน งานวิจัยนี้ ๓ เรื่อง ได้แก่ การเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงของชุมชน/พระสงฆ์ กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง ตามแนว พระพุทธศาสนา โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง ๒) เพื่อพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองใน ภูมิภาคลุ่มน้าโขงตามแนวพระพุทธศาสนาและ ๓.เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของ กลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง จากการศึกษา พบว่า กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้จาก ปัจจัยที่ส้าคัญ ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) ผ่านกระบวนการทางการเมืองพบว่ากลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย เชียงตุง เชียงรุ้ง และเชียงทอง ชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ เป็นชาวไต ที่เรียกตัวเองว่า ไต ลื้อ ไตยวน ไตน้อย และไตขืน โดยกระบวนการทางการเมืองจากตระกูลลาวจก นับตั้งแต่พญาเจื๋อง พญามังราย และพระเจ้ากาวิละ จากอาณาจักรล้านนาสู่ล้านช้าง ๒) ผ่านกระบวนการทางศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาฝ่ายนิกายเถรวาท ซึ่งได้หล่อหลอมวิถีชีวิตของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงเกิด การเรียนรู้และสร้างคุณภาพชีวิตในการการเป็นพลเมืองที่ดี โดยการประยุกต์หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ก่อให้เกิด วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี และ ๓) ผ่านกระบวนการทาง ชาติพันธุ์เผ่าไต ปัจจุบันชุมชนกลุ่มอารยธรรมลุ่มน้าโขง ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย เชียงตุง เชียงรุ้ง และเชียงทอง ถือกันเป็นบ้านพี่เมืองน้อง มีการอพยพจากกลุ่มชาติพันธุ์ ไตลื้อ ในเมือง จังหวัด และ ประเทศไทย จีน ลาว
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/713
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-177 ดร.วันชัย พลเมืองดี.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.