Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/712
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสินสมบัติ, สันต์ทัศน์-
dc.contributor.authorพระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ-
dc.contributor.authorนามสง่า, ปัญญา-
dc.contributor.authorทองสุข, ชัยรัตน์-
dc.contributor.authorสินทับศาล, ภูวเดช-
dc.date.accessioned2022-03-29T09:17:46Z-
dc.date.available2022-03-29T09:17:46Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/712-
dc.description.abstractผลการวิจัยพบว่า๑) สุขภาวะของผู้สูงอายุโดยผลการวิเคราะห์ภาวะซึมเศร้าผู้สูงอายุก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติ คือ ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้า14.50 (SD = 4.89):โดยจัดเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 63.7 และซึมเศร้าปานกลางร้อยละ 16.7 ภายหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้า 9.40 (SD = 4.78):จัดเป็นภาวะปกติร้อยละ 73.3 และภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 26.7 เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุก่อนและหลังเมื่อทดสอบการกระจายตัวของข้อมูลด้วยสถิติ Komogorov Smirnov test พบว่า มีการกระจายตัวเป็นโค้งปกติจึงเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุก่อนและหลังได้รับการฝึกสติปัฏฐานโดยใช้สถิติทีชนิดสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน (paired t – test) พบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุภายหลังได้รับการฝึกได้รับการฝึกสติปัฏฐานลดลงกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปว่าการฝึกสติปัฏฐานสามารถลดภาวะซึมเศร้าได้ ๒) เสริมสร้างการฝึกสติปัฏฐานของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ทำได้โดยการฝึกปฏิบัติธรรมตามหลักของสติปัฏ สามารถเสริมสร้างโดยให้ผลเป็นการป้องกันภาวะซึมเศร้าได้จริง โดยสรุปเชิงพรรณา ๒ ระดับคือ ๑.ระดับไม่คงที่ ว่าด้วยกิจกรรมที่ส่งผลให้อารมณ์พอใจ ๒.ระดับคงที่ ด้วยการปฏิบัติต่อเนื่องขึ้นไปตามตัวบุคคลไม่สามารถวัดผลแน่ชัดเพราะปัจจัยแปรผัน ผู้ปฏิบัติรู้ได้ด้วยตนเอง ๓) ผลการศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้การฝึกสติปัฏฐานในกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้านั้น มีความสัมพันธ์กันกับชีวิตของผู้สูงอายุโดยตรง และภาวะซึมเศร้าสำหรับผู้สูงอายุเผชิญอยู่นั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการฝึกตามหลักสติปัฏฐานสามารถกระทำได้โดยการฝึกปฏิบัติธรรมตามหลักของสติปัฏฐาน ด้วยกาย เวทนา จิต ธรรม โดยมุ่งเน้นที่การแสดงผลลัพธ์ผ่านภาวะที่เกิดคือความซึมเศร้า ทั้งนี้เป็นหลักธรรมเพื่อการปฏิบัติที่เสริมสร้างป้องกันภาวะซึมเศร้าได้จริงหากจำเป็นen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectสติปัฏฐานen_US
dc.subjectภาวะซึมเศร้าen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.titleสติปัฏฐานกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeSatipattana to protect a state of depression for the elderlyen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-172 Santhas_Sin.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.