Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/711
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorหอมสมบัติ, พูลศักดิ์-
dc.contributor.authorตปสีโล, พระใบฎีกาสุพจน์-
dc.contributor.authorจันทราช, นคร-
dc.contributor.authorศรีหะมงคล, กวีพล-
dc.date.accessioned2022-03-29T09:16:14Z-
dc.date.available2022-03-29T09:16:14Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/711-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค คือ ๑) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย ๓) เพื่อสร้างรูปแบบ มาตรการ และวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงผสมผสาน โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๘๘ คน และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๒๘ คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ ๕๖.๗๐ อายุ ๑๙-๒๕ ปี ร้อยละ ๓๔.๐๐ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ ๖๑.๙๐ มีรายได้ ๑,๕๐๑-๓,๐๐๐ บาท จำนวน ร้อยละ ๓๕.๑๐ ๑. คุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสุขภาพกาย อยู่ในระดับมาก ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพจิต อยู่ในระดับปานกลาง ผู้พิการที่มีเพศ และรายได้ แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตโดยรวมและเป็นรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ผู้พิการที่มีอายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตโดยรวมและเป็นรายด้าน ๓ ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนที่เหลือ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ไม่แตกต่างกัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า คุณภาพชีวิตผู้พิการ สูงที่สุด คือด้านสัมพันธภาพทางสังคม รองลงมา คือ ด้านสุขภาพกาย การมีสวนร่วมในเครือข่ายผู้พิการ สัมพันธภาพในครอบครัว และ การบริการที่ได้รับจากภาครัฐ ตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ มีผล ต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ๒. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการมีส่วนร่วมในเครือข่ายผู้พิการ และด้านเห็นคุณค่าในตัวเอง อยู่ในระดับมาก ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว และด้านการบริการที่ได้รับจากภาครัฐ อยู่ในระดับปานกลาง ผู้พิการที่มีเพศ อายุ และรายได้ แตกต่างกัน มีความความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวมและเป็นรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนที่เหลือ คือ ผู้พิการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้พิการ มากที่สุดคือการเห็นคุณคาในตนเอง รองลงมาคือ การมีสวนร่วมในเครือข่ายผู้พิการ สัมพันธภาพในครอบครัว การบริการที่ได้รับจากภาครัฐ เพศ อายุ และรายได้ ตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่า ระดับการศึกษา ไม่มีผล ตอ คุณภาพชีวิตของผู้พิการ ๓. การสร้างรูปแบบ มาตรการ และวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือการสร้างรูปแบบมาตรการและวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทยต้องอาศัยองค์ประกอบ ๕ ด้าน คือ ๑) สงเสริมผู้พิการใหเขาถึงสิทธิ สวัสดิการ และสิ่งอำนวยความสะดวกอัน เป็นสาธารณะอย่าง เทาเทียม ๒) เสริมสร้างความ เขมแข็งและความร่วมมือกับองคกรด้านผู้พิการและเครือข่าย ๓) บูรณาการและขับเคลื่อนนโยบายด้านผู้พิการสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ๔) พัฒนาศักยภาพและสร้าง เจตคติที่สร้างสรรคตอผู้พิการและความพิการ ๕) สนับสนุนและสงเสริมองค์กรพระพุทธศาสนาให้มีบทบาทในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ สังคมสิ่งแวดล้อม และจิตวิญญาณ แก่ผู้พิการen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสร้างรูปแบบen_US
dc.subjectมาตรการen_US
dc.subjectวิธีการดับทุกข์en_US
dc.subjectผู้พิการในสังคมไทยen_US
dc.titleการสร้างรูปแบบ มาตรการ และวิธีการดับทุกข์ของผู้พิการในสังคมไทยen_US
dc.title.alternativeEstabishing model, measure and approach to relieve suffering of persons with disability in Thai societyen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-089 นายพูลศักดิ์ หอมสมบัติ.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.