Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/710
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพูนวสุพลฉัตร, นวลวรรณ-
dc.contributor.authorพระครูพิพิธปริยัติกิจ-
dc.contributor.authorพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์-
dc.contributor.authorภูวชนาธิพงศ์, กมลาศ-
dc.date.accessioned2022-03-29T09:14:52Z-
dc.date.available2022-03-29T09:14:52Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/710-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาการให้การปรึกษาด้านจิตวิทยาตามแนวคิดตะวันตก (๒) เพื่อศึกษาการให้การปรึกษาตามหลักพุทธจิตวิทยา และ (๓) เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์องค์ความรู้และกระบวนการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยคุณภาพเชิงเอกสาร ประกอบด้วยการศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงพุทธจิตวิทยากับการให้การปรึกษาจิตวิทยาคลินิก ผลการศึกษาวิจัยมีดังนี้ : การครองชีวิตของบุคคลในสังคมปัจจุบันถูกบีบคั้นเป็นอย่างมากทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การสื่อสารและเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การครองชีพ ค่านิยม พฤติกรรมและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทำให้เกิดความเครียดก่อให้เกิดปัญหาทางจิต เป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคความผิดปกติของการปรับตัว โรคบุคลิกภาพผิดปกติ โรคการใช้สารเสพติด เป็นต้น รวมเรียกว่าภาวะโรคจิต จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันและเยียวยาผู้ป่วยตามหลักจิตเวชศาสตร์ มีการจัดตั้งจิตวิทยาคลินิก บริการให้การปรึกษาทางจิตวิทยา โดยใช้จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คำว่า “สุขภาพจิต” หมายถึงสภาพจิตใจที่เป็นสุข ตระหนักรู้ความสามารถของตนเอง ปรับตนเองได้ในภาวะกดดันในชีวิต ทำงานที่เกิดเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นในสังคมได้ คือ สุขภาพจิตปกติหรือสุขภาพจิตดี สามารถเผชิญปัญหาข้อขัดข้องหรือขจัดความวิตกกังวลออกไปได้ กล้าเผชิญความจริง พยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองได้ดี ส่วนสุขภาพจิตไม่ดี เกิดกับบุคคลผู้มีปัญหารุนแรง เกิดวิตกกังวล กลุ้มใจ ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด หดหู่ใจ เบื่อหน่ายชีวิต การเยียวยารักษาจึงมุ่งไปที่การช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักและเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถวิเคราะห์ปัญหา ค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา การเปลี่ยนพฤติกรรม จนสามารถดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าและความหมายได้ ในส่วนของพุทธจิตวิทยา เชื่อว่าจิตเดิมนั้นมีสภาพผ่องใสบริสุทธิ์แต่ที่ขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมาซึ่งเป็นอกุศล ดังนั้น บุคคลต้องได้รับการฝึกฝนอบรมด้วยไตรสิกขาคือศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้น กระบวนการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา จะเริ่มจากองค์ประกอบการให้การปรึกษา คือผู้ให้การปรึกษาต้องมีความรู้ความสามารถ มีเมตตากรุณา ไม่หวังลาภสักการะตอบแทน ผู้รับการปรึกษาอยู่ในสถานะที่จะเยียวยารักษาได้ วิธีการให้การปรึกษาจะใช้วิธีคิดแบบอริยสัจหรือคิดแบบแก้ปัญหาแบบอริยสัจ ๔ ในงานวิจัยนี้ได้ยกตัวอย่างของบุคคลมาเป็นกรณีศึกษาในการให้การปรึกษาทั้งประเภทผู้ประสบความสูญเสีย ผู้เป็นโรคซึมเศร้า และบุคคลผู้ก้าวร้าว ทุกรายมีปัญหาทุกข์โศกต่างกรณีกัน พระพุทธเจ้าทรงปลอบโยนโดยวิธีการให้ยอมรับความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น ทรงปลอบโยนให้กำลังใจจนได้สติ ดำรงชีวิตเป็นปกติสุขในกาลต่อมา บทสรุปก็คือ พุทธจิตวิทยานั้น มีองค์ความรู้กระบวนการแน่นอนตามแบบขั้นตอนของอริยสัจ ๔ บุคคลที่ได้รับการเยียวยารักษา จะมองเห็นคุณค่าของชีวิต ไม่คิดทำร้ายตัวเอง และพร้อมจะอยู่สู้โลกต่อไปด้วยจิตใจที่เข้มแข็งเป็นปกติสุข เฉพาะอย่างยิ่งพุทธจิตวิทยามีเป้าหมายมิได้เพียงเยียวยาสภาพจิตใจของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยกจิตใจให้เฟื่องฟูสูงขึ้นจนถึงบรรจุอริยธรรมเป็นที่สุดด้วยen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการให้การปรึกษาแนวจิตวิทยาen_US
dc.subjectพุทธจิตวิทยาen_US
dc.subjectจิตบำบัดen_US
dc.titleการวิเคราะห์สังเคราะห์องค์ความรู้และกระบวนการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาen_US
dc.title.alternativeAnalytical Synthesis of Knowledge and Counseling Process in Buddhist Psychologyen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561_ดร.นวลพรรณ1.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.