Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/708
Title: การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตามแนวพระพุทธศาสนา
Other Titles: Development of Model And Process of Elder Health Cave in Elder School Through Buddhism
Authors: วิจิตรปัญญา, สราวุฒย์
-, พระครูประโชติพัชรพงศ์
ธมฺมรํสี, พระมหาธวัชชัย
กุลผาย, นรุณ
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
กระบวนการ
สุขภาวะผู้สูงอายุ
โรงเรียนผู้สูงอายุ
แนวพระพุทธศาสนา
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา 2) การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา และ 3) ผลของการพัฒนารูปแบบ และกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระ พุทธศาสนา โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลจากการศึกษาพบว่า กระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนานำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ได้รับประโยชน์สุข ตั้งแต่ขั้นต้นในการลงมือปฏิบัติ ได้แก่ หลักไตรลักษณ์ เป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพียงเราเข้าไปยึดว่าเป็นความสุข ซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของจิต โดยมีหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ได้แก่ 1. ร่างกาย การดำเนินชีวิตให้พิจารณาถึงคุณค่าแท้ 2. ด้านสังคม โดยผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีจิตอาสา เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำให้ตนเองรู้สึกมีคุณค่า มีความเป็นกัลยาณมิตรชุมชนไม่ทอดทิ้ง 3. ด้านจิตใจ ยิ้มบ่อย ๆ ไม่ต้องเครียด ปล่อยวาง ผู้ดูแลใช้หลักการบริบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ มีเมตตาเป็นกัลยาณมิตร 4. ด้านปัญญาผู้สูงอายุมีความเข้าใจถึงธรรมชาติของชีวิต เข้าใจสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามหลักไตรลักษณ์ กำจัดกิเลสที่เป็นรากเหง้าของทุกข์ได้ เกิดปีติ แจ่มใสสงบ ผลของการพัฒนารูปแบบและกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า 1) ด้านกาย พิจารณาถึง ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีเน้นการดูแลตนเอง ครอบครัวเป็นผู้ให้การดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพา 2) ด้านศีลภาวนา มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมและบุญ- บาป มีจิตอาสา บำเพ็ญประโยชน์ ร่วมกิจกรรมสังคม เน้นการเสริมคุณค่าในตน 3) ด้านจิตใจมีสุขภาพจิตดี ยิ้มแย้ม และ 4) ด้านปัญญาภาวนา เข้าใจหลักสัจธรรมทำให้จิตใจเบิกบานและมีความสุข ดังนั้น สุขภาพของผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อความเจริญของประเทศชาติ จึงควรใช้หลักธรรมเป็นดั่งเข็มทิศชี้ทางในการจัดการสุขภาวะ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/708
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-186 ดร.สราวุฒย์.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.