Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/706
Title: รูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง
Other Titles: The Form and Management Process of an Elderly School in Lampang Province
Authors: ปัดแก้ว, ณรงค์
พระครูสุตชยาภรณ์
บุญอิ่ม, ดิลก
Keywords: รูปแบบ
โรงเรียนผู้สูงอายุ
จังหวัดลำปาง
กระบวนการจัดการ
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการ วิจัยคือ ๑. เพื่อศึกษากระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง ๒. เพื่อพัฒนารูปแบบและ กระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง และ ๓. เพื่อเสนอรูปแบบและกระบวนการ จัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ผู้วิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเจาะจง ได้แก่ ๑. ผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จำนวน ๘๖ คน ๒. ผู้สูงอายุของโรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวน ๘๖ คน และ ๓. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการบริหาร จัดการโรงเรียนผู้สูงอายุได้แก่ นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร นายกเทศมนตรีตำบลเกาะคา กลุ่มผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชนที่มีโรงเรียนผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบในโรงเรียน ผู้สูงอายุ จำนวน ๒๐ คน รวมทั้งสิ้น ๑๙๒ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) กระบวนการการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง มีขั้นตอนการวางแผน รายละเอียดกิจกรรม และจัดทำโครงการพร้อมรายละเอียดต่าง ๆ ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนใน การดำเนินงาน ด้านเจ้าหน้าที่ บุคลากร ที่รับผิดชอบภาระหน้าที่การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีเจ้าหน้าที่ของเทศบาลคอยดูแล และวางแผนในการเรียนของผู้สูงอายุ มีการเตรียมบุคลากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ในการสอนแต่ละวิชา กำหนดไว้ในตารางสอน มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ ด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ระเบียบข้อบังคับของ โรงเรียน เกิดจากมติที่ประชุมของคณะกรรมการ เครือข่ายที่ร่วมทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน และ คณะกรรมการผู้สูงอายุระดับเทศบาล ที่ร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้นมา ด้านภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ คณะผู้บริหารเทศบาลได้มอบหมายให้กองสวัสดิการสังคม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ดำเนินการจัดตั้ง วางรูปแบบ แนวทางและศึกษาข้อมูล มอบหมายงาน จัดหาบุคลากร และงบประมาณในการดำเนินงาน การดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ สามารถแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เข้ารับการ อบรมได้ และผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพจิตดีขึ้น จนออกมาร่วมกิจกรรมในโรงเรียนหรือในหมู่บ้านได้ ด้านการจัดกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ด้านพระพุทธศาสนา กิจกรรมการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และกิจกรรมนันทนาการ ข การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุประสบผลสำเร็จ จากการได้รับความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งการเข้า ประชุมร่วมกัน การระดมความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ มีการกำหนดหลักสูตรในแต่ ละชั้นปี ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนมีความชัดเจนในการรับรู้ข้อมูล ๒) การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำ ปาง ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีความต้องการให้มีการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ต้องการ ให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเชิญชวนบุคคล/หน่วยงานภายนอกมาสนับสนุนในการเปิด โรงเรียนผู้สูงอายุ ด้านความชัดเจนของการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เห็นว่าโรงเรียนผู้สูงอายุ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุได้ถูกวิธี ผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการมีส่วนร่วม ของผู้สูงอายุ และพัฒนาทักษะความรู้ ด้านต่างๆ ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ด้านความสอดคล้อง ของวัตถุประสงค์การจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เห็นว่า โรงเรียนควรส่งเสริมผู้สูงอายุพัฒนา ทักษะความรู้ด้านสังคมวัฒนธรรมและความรู้ด้านต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาความสามารถการดูแลสุขภาพ ๓) รูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง ๑. มีการวางแผนรายละเอียดกิจกรรม ค่าใช้จ่าย สถานที่อบรม และจัดทำโครงการพร้อม รายละเอียดต่างๆ ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมและวางแผนดำเนินการรับสมัคร ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม มีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน มีการประชุมผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการเช่นนี้ ย่อมเป็นแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุสมัครเข้า โรงเรียน ๒. มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ด้านพระพุทธศาสนา ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านสังคมและวัฒนธรรม กิจกรรมการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ การอบรมและศึกษาดูงาน การส่งเสริมด้านอาชีพ และการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และกิจกรรมนันทนาการ การดำเนินการ เช่นนี้ ย่อมทำให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุดีขึ้น ๓. มีการดำเนินการประสานขอความร่วมมือและสนับสนุน จากหน่วยงานราชการอื่น และ ภาคเอกชน หรือชุมชน ตลอดถึงการติดต่อประสานงานกับวิทยากร ภาคีเครือข่ายทั้งในและ นอกพื้นที่ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเปิดโรงเรียน ทั้งในด้านอุปกรณ์การเรียน การมาเป็นวิทยากร และการให้ ข้อเสนอแนะ ตลอดถึง มาให้บริการอาหารว่างอาหารกลางวัน แก่นักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุด้วยการ ดำเนินการเช่นนี้ ย่อมทำให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจที่จะเข้าเรียนจนจบหลักสูตร
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/706
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-233นายณรงค์ ปัดแก้ว.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.