Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/703
Title: การพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม: การศึกษาเอกสารและการสังเคราะห์งานวิจัย
Other Titles: THE HOLISTIC DEVELOPMENT OF MIND AND WISDOM: DOCUMENTARY STUDY AND RESEARCH SYNTHESIS
Authors: วัฒนะประดิษฐ์, ขันทอง
ศรีทอง, โกนิฏฐ์
โรจนอุทัย, สุดา
อารีกุล, ชนันภรณ์
Keywords: การพัฒนา
จิตและปัญญาแบบองค์รวม
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้เป็นการสังเคราะห์งานวิจัย (Research Synthesis) โดยมีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องการพัฒนาจิตและปัญญาตามแบบองค์รวม ๒) เพื่อศึกษาสังเคราะห์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาจิตและปัญญา ๓) เพื่อนาเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา จิตและปัญญาแบบองค์รวม ประชากรศึกษา คือ รายงานวิจัยและงานวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาจิตและปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนาและแนวคิด ตะวันตกที่ตีพิมพ์ในช่วง ๒๕๕๑-๒๕๖๐ จานวน ๔๐ เรื่อง และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ๑) แนวคิดการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวมทั้งตามแนวพระพุทธศาสนาและตามแนวคิด ตะวันตกต่างก็มุ่งไปที่การพัฒนาที่ทาให้มนุษย์เกิดสมดุลทั้งในแง่ของกายกับใจ รวมถึงสมดุลกับ ธรรมชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อม ๒) การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตและปัญญาทั้ง ๔๐ เรื่อง มีคุณลักษณะ แตกต่างกันทั้งในด้านของปีที่พิมพ์ พบว่า ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มากที่สุด จานวน ๑๖ เรื่อง ด้าน ประเภทวิจัย เป็นวิทยานิพนธ์ ๒๙ เรื่อง งานวิจัย ๑๑ เรื่อง ด้านแหล่งที่มามีการกระจายของ แหล่งที่มาที่หลากหลาย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มากที่สุด คิดเป็นจานวน ๑๑ เรื่อง ด้านแนวคิดที่นามาใช้คือแนวคิดตะวันตก จานวน ๒๔ เรื่องเป็น เป็นแนวคิดเชิงพุทธ จานวน ๑๖ เรื่อง จากการสังเคราะห์งานวิจัยจานวน ๔๐ เรื่อง พบว่า โดย ภาพรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตและปัญญามีคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = ๔.๔๘, S.D.=๐.๕๗) และองค์ความรู้จากการสังเคราะห์งานวิจัย มีข้อค้นพบ ๔ ประการ คือ เรื่องจานวนกลุ่ม ตัวอย่าง รูปแบบกระบวนการศึกษา กิจกรรมที่ใช้ในการวิจัย และจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ ๓) องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม พบว่า กรอบแนวคิดเกี่ยวกับ การพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม ประกอบด้วยการวางจุดหมายในการพัฒนาจิตและปัญญาของ มนุษย์ จาแนกได้ ๒ ระดับ กล่าวคือ ความสุขตามกระแสโลก และความสุขตามกระแสธรรม และกระบวนการฝึกปฏิบัติที่สามารถปรับให้สอดรับกับความเป็นตัวบุคคล ปัจจัยสาคัญในการออกแบบกิจกรรม คือ การคานึงถึงกลุ่มผู้เข้ารับการพัฒนา ระยะเวลา กรอบของกิจกรรม ควรเริ่มจาก ๑) การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ (Inspiration) ๒) การปรับเปลี่ยนมุมมองเพื่อชีวิตที่ดี (Transform view to be good life) ๓) การสร้างแรงสั่นสะเทือนทางความคิด (Create vibrations of thought) ๔) การปฏิบัติเพื่อสร้างการตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง (Practice to create self-esteem) ๕) การสะท้อนตนเองและการพัฒนาก้าวต่อไป (Self-reflection and develop even further) ๖) ขยายพื้นที่แห่งความสุข (Spread the area of Happiness) เรียกกระบวนการนี้ว่า ITC-PSS เกณฑ์ชี้วัดกระบวนการพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวม พบว่า ความสุข ๔ ด้าน คือ (๑) พัฒนากายให้เป็นสุข (๒) พัฒนาพฤติกรรมการแสดงออกทางสังคมอย่างมีสุข (๓) พัฒนาจิตใจเข้าถึงความสุขด้านใน (๔) พัฒนาปัญญาโดยใช้ความสุขทาสิ่งที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ องค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบ คือ โมเดลองค์ความรู้การพัฒนาจิตและปัญญาแบบองค์รวมนี้ว่า “GPA 4 Happy life” โดย G คือ Goal เป็นจุดหมาย และ P คือ Process เป็นกระบวนการที่ต้องคานึงถึงความเป็นตัวบุคคล A คือ Activity เป็นการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ ICT-PSS และ 4 Happy life คือ การเข้าถึงความสุขแบบยั่งยืนอย่างแท้จริง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/703
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-368 ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.