Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/699
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สะอาดเอี่ยม, ธนรัฐ | - |
dc.contributor.author | พวงจันทร์, ธีรทิพย์ | - |
dc.contributor.author | ปัญญาเอก, เกษศิรินทร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-29T08:28:58Z | - |
dc.date.available | 2022-03-29T08:28:58Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/699 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง “พระพุทธศาสนากับการส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ตามหลักปัญญา ภาวนา ของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักการส่งเสริมการ พัฒนาตนเอง ตามหลักปัญญาภาวนาในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการพัฒนา ตนเอง ตามหลักปัญญาภาวนาของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ และ ๓) เพื่อศึกษาผลการส่งเสริม การพัฒนาตนเอง ตามหลักปัญญาภาวนาของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง จากการ สอบถามประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๒๒๗ รูป/คน และการสัมภาษณ์กลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน ๓๖ คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานผลการวิจัยพบว่า ๑.หลักการส่งเสริมการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนาในพระพุทธศาสนา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน ๑๔๖ คน (คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๓) ผู้ตอบ แบบสอบถามส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน ๗๕ คน (คิดเป็นร้อยละ ๓๓) ผู้ตอบ แบบสอบถามส่วนมากมีระดับรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑๔๔ คน (คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๔) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากประกอบอาชีพกสิกรรม จำนวน ๖๗ คน (คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๕) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านจิตวิทยาในการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X̅=๓.๒๒,S.D.= ๐.๙๙๖) ภาพรวมของพระพุทธศาสนา กับการส่งเสริมการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนาของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมมี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X̅=๓.๕๖,S.D.= .๖๖๗) ดังนั้น บุคคลจึงจำเป็นต้องศึกษาอบรมก่อน เพื่อจะ ได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ การพัฒนาคนจึงเป็นวิธีที่พัฒนาให้บุคคลเป็นมนุษย์ที่เจริญแล้ว การที่ คนเรารู้จักการพัฒนาตนเอง ก็เพราะบุคคลนั้นรู้จักความสำคัญของตนเอง บุคคลจึงต้องฝึกหัดด้วย ตนเอง (Self-Care) คือ ต้องใช้เวลาศึกษาภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ นานพอสมควรจึงจะเข้าใจและ ทำได้ดี และต้องยึดเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตลอดไปด้วย การปฏิบัติธรรม การให้ทาน รักษาศีล ข การบำเพ็ญภาวนา เป็นงานที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในทุก ๆ ด้านของชีวิต เอื้อประโยชน์ทั้งใน ปัจจุบัน ประโยชน์ทั้งในโลกหน้า และประโยชน์สูงสุด คือความพ้นทุกข์ในที่สุด เป็นงานของชาวพุทธที่ เรียกว่า การฝึกตน ซึ่งเราทุกคนควรฝึกหัดเอาไว้ เมื่อภัยอันคับขันของชีวิตมาถึง เราจะได้นำมาใช้ได้ การพัฒนาตามความหมายของพระพุทธศาสนา หมายถึง การทำให้เป็นให้มีขึ้นมีอยู่พัฒนา ๔ ประเภท คือ ๑) การพัฒนากาย ๒) การพัฒนาความประพฤติ ๓) การเจริญจิต ๔) การพัฒนาปัญญา หลักการ พัฒนาตนเองตามหลักพุทธศาสนานั้น มี ๗ ประการ คือ ๑) ความมีกัลยาณมิตร ๒) ความถึงพร้อมด้วย ศีล ๓) ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ ๔) ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกไว้ดี ๕) ความถึงพร้อมความคิดความ เชื่อที่ถูกต้อง ๖) ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ๗) ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ประเภท ของปัญญามี ๓ ประเภท คือ ๑) ปัญญาที่เกิดจากการคิด ๒) ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ๓) ปัญญาที่เกิด จากการอบรม หลักปัญญาวุฒิธรรม คือ กระบวนการพัฒนาคนเพื่อให้เกิดปัญญา มีอยู่ ๔ ประการ คือ ๑) การคบหาสัตบุรุษ ๒) การฟังธรรม ๓) การมนสิการโดยแยบคาย และ ๔) การปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ประโยชน์ของการพัฒนาปัญญามี ๓ ระดับคือ ๑) ประโยชน์ในปัจจุบัน มุ่งการพัฒนาเพื่อให้ ได้มาซึ่งปัจจัย ๔ ในการเลี้ยงชีพ ๒) ประโยชน์ในอนาคต คือ ประโยชน์ที่เลยตามองเห็น (ด้าน นามธรรม) หรือเลยไปข้างหน้าไม่เห็นเป็นรูปธรรมต่อหน้าต่อตาเรียกว่า สัมปรายิกัตถะ ๓) การพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขขั้นสูงสุด (ปรมัตถะ) การพัฒนาปัญญามีเป้าหมายสูงสุด คือ การบรรลุธรรม ซึ่งเป็น ภาวะชีวิตที่พบความสุขอย่างแท้จริง ๒.กระบวนการส่งเสริมการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนาของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ๑) ภาพรวมด้านกลยุทธ์ในการวางแผนให้บรรลุเป้าหมายอยู่ในระดับมาก คะแนนค่าเฉลี่ย (X̅ = ๓.๕๙, S.D.=.๗๐๐) ดังนั้น กระบวนการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาปัญญาของ ชุมชนในจังหวัดสุรินทร์นั้น พบว่า สำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสุรินทร์นั้นมีกระบวนการพัฒนาคนใน ด้านการพัฒนาปัญญาที่หลากหลาย โดยเฉพาะในด้านกลยุทธ์ในการวางแผนให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งกล ยุทธ์ที่เป็นทางการ คือ กระทำรูปของคณะกรรมการ และกลยุทธ์ที่ไม่เป็นทางการ คือ เน้นการสอน ธรรมเป็นรายบุคคลที่ว่าตามสภาวะธรรมที่บังเกิดขึ้น ทั้งนี้ ก็เพื่อมุ่งหวังการพัฒนาปัญญาของบุคคล เป็นหลัก ๒) ภาพรวมของพระพุทธศาสนากับการส่งเสริมพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาของชุมชนใน จังหวัดสุรินทร์ด้านมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (X̅ = ๓.๖๐, S.D.= .๖๙๑) ดังนั้น กระบวนการจัดการ สำนักปฏิบัติธรรมในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ นั้น เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน หรือเป็นพหุภาคีบน พื้นฐานของพลัง “บวร” คือ บ้าน-วัด-โรงเรียน หรือหน่วยงานราชการเป็นสำคัญ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า รูปแบบการสอนหรือการเผยแผ่หลักศาสนธรรมในยุคปัจจุบันนั้น ต้องอาศัยหลากหลายรูปแบบ และ วิธีการ ๓) ภาพรวมของของพระพุทธศาสนากับการส่งเสริมพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาของชุมชนใน จังหวัดสุรินทร์ด้านการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (X̅ = ๓.๖๐, S.D.= .๖๙๑) ดังนั้น การดำเนินการ ของสำนักปฏิบัติธรรมโดยส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาด้านงบประมาณในการการดำเนินการ ค ๓.ผลการส่งเสริมการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนาของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุรินทร์ พบว่าภาพรวมของของพระพุทธศาสนากับการส่งเสริมพัฒนาตนเองตามหลักปัญญา ของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมให้สัปปายะอยู่ในระดับมาก (X̅ = ๓.๕๖, S.D.= . ๖๖๗) ๔.องค์ความรู้ให้ที่ค้นพบ คือ รูปแบบการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนาของ ผู้สูงอายุแบบองค์รวม มีดังนี้ ๑) อ.อาวาสะ คือ ต้องเลือกถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีสภาพที่เอื้อต่อการเจริญ ปัญญา ๒) อ.อาคมนะ คือต้องเลือกการเดินทางสัญจรระหว่างสำนักปฏิบัติธรรม กับชุมชนที่สะดวก ๓) อ.โอวาทะ คือ ต้องดูรูปแบบการสอนหรือสนทนาธรรมระหว่างเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมที่เป็นพระ วิปัสสนาจารย์และวิทยากรกับผู้ปฏิบัติ ต้องมีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ๔) อ.อาจริยะ คือ ต้องเลือก เจ้าสำนักหรือพระวิปัสสนาจารย์ ต้องเป็นผู้มีความรู้ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ๕) อ.อาหาระ คือ ต้องเลือกบริโภคอาหารให้เพียงพอ ถูกกับร่างกายและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ๖) อ.อากาสะ คือ ต้องเลือกสภาพอากาศที่พอเหมาะและเกื้อกูลแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อเจริญปัญญา และ ๗) อ.อิริยาปถะ คือ ต้องเลือกรูปแบบการปฏิบัติธรรมที่มีรูปแบบการสอนที่เน้นการเคลื่อนไหวด้านร่างกาย การจัด อิริยาบถรูปแบบของกิจกรรมการปฏิบัติธรรมทั้ง ๔ อิริยาบถที่เกื้อกูลแก่การพัฒนาปัญญาเป็นหลัก | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พระพุทธศาสนา | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมการพัฒนาตนเอง | en_US |
dc.subject | ปัญญาภาวนา | en_US |
dc.subject | จังหวัดสุรินทร์ | en_US |
dc.title | พระพุทธศาสนากับการส่งเสริมการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนาของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ | en_US |
dc.title.alternative | Buddhism and Self-Reliance according to the Wisdom Development Principle of Community in Surin Province | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-103ดร.ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม.pdf | 6.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.