Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/698
Title: เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกับการสร้างเสริมความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่
Other Titles: Buddhist Economics and the Strengthening of the New Parents
Authors: สิงอุดม, ธงชัย
บุญรัตน์, สามารถ
สายบุญเยื้อน, พัชรี
Keywords: เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
การสร้างเสริมความมั่นคงของครอบครัว
ครอบครัวพ่อ-มือใหม่
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกับการสร้างเสริมความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่ มือใหม่” เป็นการศึกษาเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจที่มีต่อการสร้างเสริมความมั่นคงทาง ครอบครัว ๒) ศึกษาระบบและกลไกในการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวเชิงเศรษฐศาสตร์ และ ๓) บูรณาการหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกับการสร้างเสริมความมั่นคงทางครอบครัวพ่อ-มือใหม่ โดย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบคุณภาพภาคสนาม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพทางเศรษฐกิจที่มีต่อการสร้างเสริมความมั่นคงทางครอบครัวในพื้นที่อำเภอ เมืองเลย จังหวัดเลย หลายครอบครัวได้ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์เนื่องการดำเนินวิถีชีวิตประจำวัน การเผชิญหน้ากับการแข่งขันในสังคมและเศรษฐกิจ การถูกหล่อหลอมจากขนบธรรมเนียมประเพณี หรือวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามวิถีโลก เพื่อให้ทันกับยุคสมัยของสิ่งแวดล้อมที่ก้าวล้ำไปตามความ เจริญก้าวหน้าของวัตถุนิยม รวมถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารที่พัฒนารุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง และที่สำคัญการห่างไกลต่อศาสนาและการละทิ้งศีลธรรมจรรยาในขณะที่พื้นฐานสภาพสังคมและ เศรษฐกิจอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลยมาจากสังคมเกษตรกรรม อาชีพและรายได้หลักของครอบครัวจะ มาจากการจำหน่ายสินค้าและพืชผลทางการเกษตรเป็นหลัก ส่งผลให้มีกระบวนการจัดการในเรื่อง ต่างๆ ต่อไปนี้ ๑) ด้านรายได้ ต้องพยามยามหารายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพหลัก โดยมุ่งมั่นพัฒนา อาชีพเสริมหรืออาชีพสำรอง มาเป็นรายได้เพื่อสนองตอบต่อค่าใช้จ่าย หนี้สิน หรือความต้องการของ ครอบครัว ๒) ด้านรายจ่าย ในขณะที่เราหาวิธีการเพิ่มรายรับเราก็จะต้องมีแนวทางในการลด รายจ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เกิดความพอดี เพื่อให้มีส่วนที่เหลือก็ให้เก็บไว้หรือออมเพื่อใช้ในอนาคต ซึ่ง แนวทางในด้านการบริหารจัดการด้านรายจ่ายนั้นก็คือการจัดทำบัญชีครัวเรือน ทั้งนี้เพื่อจะทำให้ ทราบถึงประมาณการรายรับ และประมาณการรายจ่ายรวมถึงหนี้สินของครัวเรือน ขณะเดียวกันเมื่อ ทราบถึงรายจ่ายแล้วก็จะต้องมีการจัดการให้มีจำนวนที่น้อยลงหรือลดลง ๓) ด้านหนี้สินจากปัญหาหนี้สินของครัวเรือนที่อาจจะเกิดจากการมีรายได้ไม่ เพียงพอต่อรายจ่าย ซึ่งอาจจะมาจากการประสบปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ส่งผลทำให้ผลผลิตทาง การเกษตรได้รับความเสียหาย หรืออาจจะเกิดจากสภาพทางการตลาดหรือราคาพืชผลิตผลิตทางการ เกษตรเกิดภาวะตกต่ำ เกิดภาวะขาดทุน สุดท้ายต้องมีการกู้หนี้เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภคในครัวเรือน ๔) ด้านการออมของครอบครัว เพราะการออมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นของ ครอบครัว ถึงแม้ว่าหน่วยการออมหรืออำนาจในการออมของแต่ละครอบครัวจะมีจำนวน ปริมาณ หรือรูปแบบที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะการออมนั้นจะขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิของครอบครัวที่หลงเหลือ จากรายจ่ายหรือภาระหนี้สินที่มี สิ่งที่สำคัญก็คือทุกครอบครัวจะต้องมีการบริหารจัดการและมีการ วางแผนกับรายรับที่ได้มา ทั้งรายรับที่เป็นรายได้ประจำและรายได้เสริม หรืออาจจะเป็นรายรับอื่นๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นทุน ๒ ระบบและกลไกในการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวเชิงเศรษฐศาสตร์ในพื้นที่ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ๑) จะต้องพยามยามหารายได้เสริม ๒) มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ๓) จะต้องมีการวางแผนในการใช้จ่าย และ ๔) ใช้ชีวิตความพอดี พอประมาณ มีเหตุมีผลตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกับการสร้างเสริมความมั่นคงทางครอบครัวพ่อ- มือใหม่ ๑) หลักการปฏิบัติบนทางสายกลางหรือหลักแห่งความพอดี พอประมาณ มาเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวในการสร้างสรรค์ครอบครัวให้เกิดความเข้มแข็งและเป็นปึกแผ่นทั้งนี้เพราะการปฏิบัติ บนทางสายกลางที่มีองค์ประกอบแห่งความพอดี ๘ นั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมในการปฏิบัติตนตาม หลักการของชาวพุทธมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ๒) หลักการปฏิบัติตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประการ มาประยุกต์ใช้ให้ รู้จักบริหารจัดการระหว่างความพอเพียงอย่างวัตถุวิสัยและความพอเพียงอย่างจิตวิสัยให้เกิดดุลยภาพ ซึ่งกันและกันเพื่อความเข้มแข็งของครอบครัว
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/698
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-127 ธงชัย สิงอุดม.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.