Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/697
Title: วิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาตั้งชื่อพระเครื่องเพื่อสร้างอุดมการณ์ทางความเชื่อในสังคมไทย
Other Titles: Analysis of language, named Amulet Creating Ideological belief in Thai Society
Authors: พระครูคัมภีร์ธรรมานุวัตร
Keywords: การใช้ภาษาตั้งชื่อ
พระเครื่อง
ความเชื่อในสังคมไทย
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติ พัฒนาการแนวคิด และการ แพร่กระจายของพระเครื่องในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาที่มาและความหมายของชื่อพระเครื่องใน สังคมไทย และ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ชื่อพระเครื่องกับการสร้างอุดมการณ์ทางความเชื่อในสังคมไทย ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลชื่อพระเครื่องจากปกหน้าของนิตยสารลานโพธิ์ โดยคัดเลือกตั้งแต่ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๘ ฉบับที่ ๘๓๖-๑๑๖๓ รวมทั้งสิ้น ๓๒๘ ฉบับ ผลจากการวิจัยพบว่า ประวัติของพระเครื่องในสังคมไทยพบหลักฐานข้อมูล และสามารถ แบ่งกลุ่มตามยุคสมัย คือ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี หิริภุญไชย เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ ส่วนพัฒนาการแนวคิด พบว่า เริ่มตั้งแต่สร้างเพื่อเป็นพุทธานุสสติหรือสิ่งของที่ระลึก เพื่อเป็นพุทธบูชา เพื่อเป็นปรมัตถ์แก่ผู้มีพระคุณที่ล่วงลับ เพื่อประกอบบุญกุศลบารมี เพื่อโอกาสพิเศษ จนถึงพัฒนาการแนวคิดในเชิงเพื่อธุรกิจพาณิชย์ นอกจากนั้นการแพร่กระจายของพระเครื่องใน สังคมไทย พบว่า มีการแพร่กระจายผ่านศาสนาและความเชื่อ ผ่านเรื่องเล่าขานปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ ผ่านอิทธิพลค่านิยม ผ่านสมาคมหรือชมรม และผ่านทางสื่อ ส่วนที่มาและความหมายของชื่อพระ เครื่อง พบว่า ชื่อพระเครื่องมีที่มาจากนามพระพุทธเจ้าและสาวก จากลักษณะปาง จากวัตถุมวลสาร จากสถานที่ จากเหตุการณ์สาคัญ จากลักษณะเด่น จากนามพระสงฆ์และราชทินนาม จากนามบุคคล จากสมญานาม และจากศิลปะยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ส่วนความหมายของชื่อพระเครื่อง พบว่า มี โครงสร้างทางความหมายตั้งแต่องค์ประกอบ 1 ความหมาย จนถึงองค์ประกอบ 5 ความหมายขึ้นไป ลักษณะภาษาที่ปรากฏในชื่อพระเครื่องมี 3 กลุ่มภาษา คือ กลุ่มภาษาไทย กลุ่มภาษาต่างประเทศ และกลุ่มภาษาไทยผสมภาษาต่างประเทศ ส่วนโครงสร้างการสร้างคาของชื่อพระเครื่องพบว่า สร้างคา จากคาประสม คาสมาส คาสนธิ และคายืม นอกจากนั้น การใช้ภาษายังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ กับชื่อพระเครื่องในด้านเศรษฐกิจ ระบบเครือญาติ เพศ อายุ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ และ ตานาน นอกจากนั้น ชื่อพระเครื่องกับการสร้างอุดมการณ์ทางความเชื่อในสังคมไทย พบว่า ชื่อ พระเครื่องมีความสัมพันธ์กับอุดมการณ์ความเชื่อดั้งเดิม ชื่อพระเครื่องกับอุดมการณ์ความเชื่อศาสนา พราหมณ์ฮินดู ชื่อพระเครื่องกับอุดมการณ์ความเชื่อทางพุทธศาสนา ชื่อพระเครื่องกับอุดมการณ์ลัทธิ พิธีในสังคมสมัยใหม่ และชื่อพระเครื่องกับภาพสะท้อนความซับซ้อนของระบบความเชื่อและศาสนาใน สังคมไทย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/697
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-106 พระครูคัมภีร์ธรรมานุวัตร.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.