Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/696
Title: ศาสนาและวัฒนธรรม : การใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ของฐานทรัพยากรการ ท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Religion and Culture : Identity Utilization of the Tourist Resource Bases Surin Province
Authors: ทองทิพย์, ทวีศักดิ์
หนุนชู, เศรษฐพร
เสริมทรัพย์, ปัญวลี
สุทฺธจิตฺโต, พระมหาโชตนิพิฐพนธ์
Keywords: ศาสนาและวัฒนธรรม
อัตลักษณ์
ฐานทรัพยากรการท่องเที่ยว
จังหวัดสุรินทร์
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ การพัฒนา การสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากร การท่องเที่ยว และการใช้ประโยชน์อัตลักษณ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในหมู่บ้านท่องเที่ยวจังหวัด สุรินทร์ วิธีดำเนินการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลของการวิจัยมีข้อค้นพบดังนี้ อัตลักษณ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวของหมู่บ้านท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ หมู่บ้านช้าง ผ้าไหม ประเกือม กลุ่มปราสาทขอม และทางพระพุทธศาสนา จำแนกเป็น ๘ ด้าน ดังนี้ ๑) ด้าน ลักษณะที่อยู่อาศัย เช่น บ้านมีช้างมีโรงช้างข้างบ้านสูงประมาณ ๔ เมตร ๒) ด้านอาหารพื้นบ้าน เช่น แกงกล้วย ปลายอนทอดกรอบ แกงไก่บ้านใส่แตงโมสุก แกงมะละกอใส่ปูนา ขนมฝักบัว นางเล็ด กา ละแม ๓) ด้านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เครื่องประดับกระดูกช้าง ฟันช้าง หางช้าง ของตกแต่งรถและบ้าน เครื่องนอน เครื่องนุ่งห่ม ผ้าไหม ประเกือม เสื้อแซว หัวซิ่น ลูกประคบ เสื่อกก กาละแม ๔) ด้าน วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เช่น การเลี้ยงช้าง เซ่นผีปะกำ แห่นาคบนหลังช้าง จดทะเบียนสมรสบน หลังช้าง แซนโฎนตา สืบสานตำนานปราสาท ฮีตสิบสอง เรือมมะม๊วด ๕) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น ชมการแสดงช้าง นั่งช้างเที่ยว ชมช้างอาบน้ำ นำเที่ยวกลุ่มผ้าไหม เครื่องเงิน ปราสาทขอม วัด ๖) ด้านสถานที่ท่องเที่ยว เช่น ศูนย์คชศึกษา พิพิธภัณฑ์ช้าง คชอาณาจักร วังทะลุ สุสานช้าง ศาลา เอราวัณ ศาลปะกำ เจดีย์ไม้โบราณ กลุ่มผ้าไหม เครื่องเงิน ปราสาทภูมิโปน กลุ่มปราสาทตาเมือน ปราสาทช่างปี่ ปราสาทศีขรภูมิ วัดป่าอาเจียง วัดตะเคียน วัดเขาศาลา ๗) ด้านศาสนสถาน เช่น วัดป่า อาเจียง(สุสานช้าง) ศาลาเอราวัณ ปราสาทภูมิโปน กลุ่มปราสาทตาเมือน ปราสาทช่างปี่ ปราสาทศีขร ภูมิ ๘) ด้านศาสนวัตถุหรือวัตถุมงคล เช่น พระเครื่องกระดูกช้างหรือฟันช้าง แหวนหางช้าง เครื่องมือ ควาญช้าง และนวดช้างโขลง พระเครื่องหรือรูปเหมือนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล เป็นต้น การพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวในหมู่บ้านท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ หมู่บ้านช้าง ผ้าไหม ประเกือม กลุ่มปราสาทขอม และทางพระพุทธศาสนา จำแนกเป็น ๖ ด้าน ดังนี้ ๑) ด้านการ สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวนำเสนอสร้างสรรค์น่าสนใจ เช่น เครื่องประดับกระดูกช้าง ฟันช้าง หางช้าง ข ของตกแต่งรถและบ้าน เครื่องนอน เครื่องนุ่งห่ม ผ้าไหม ประเกือม เสื้อแซว หัวซิ่น ลูกประคบ เสื่อกก กาละแม มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น อนุรักษ์วัฒนธรรม เขมร กูย ลาว ๒) ด้านการจัดรูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวสร้างสรรค์น่าสนใจ เช่น ดึงดูดความสนใจ มีสีและลาย ให้เลือกมาก ๓) ด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน เช่น กอบรูปช้างไม้แก่นขาม ชุด เครื่องประดับกระดูกสัตว์ ผ้าไหม ประเกือม กาละแมศีขรภูมิ ได้รับรางวัล OTOP ระดับสี่และห้าดาว ๔) ด้านการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ผลิตซ้ำได้ในปริมาณและคุณภาพใกล้เคียงกัน เช่น เครื่องประดับกระดูก ช้าง ฟันช้าง หางช้าง ของตกแต่งรถ บ้าน เครื่องนอน เครื่องนุ่งห่ม ผ้าไหม ประเกือม เสื้อแซว หัวซิ่น ลูกประคบ เสื่อกก กาละแม ๕) ด้านการหาช่องทางตลาดผลิตภัณฑ์ เช่น เผยแพร่ตามหน่วยงานรัฐ สื่อ สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ออนไลน์ เปิดร้านขายเอง ส่งขายในตัวเมือง ขายลูกค้า นักท่องเที่ยว ขายตาม ปั้มน้ำมัน ขายออนไลน์ ให้ที่วัดจัดแสดงสินค้า ออกร้านตามงานประเพณีต่าง ๆ ๖) ด้านอนุรักษ์ เมนูอาหารท้องถิ่น เช่น แผ่นพับพิมพ์เผยแพร่ แกงกล้วย ปลายอนทอดกรอบ แกงไก่บ้านใส่กล้วยหรือ แตงโมสุก แกงมะละกอใส่ปูนา ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด กาละแม เป็นต้น การสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรการท่องเที่ยวในหมู่บ้านท่องเที่ยวจังหวัด ได้แก่ หมู่บ้าน ช้าง ผ้าไหม ประเกือม กลุ่มปราสาทขอม และทางพระพุทธศาสนา จำแนกเป็น ๘ ด้าน ดังนี้ ๑) ด้าน ตอบสนองความต้องการลูกค้า เช่น สร้างผลิตภัณฑ์ยึดโยงกับอัตลักษณ์จังหวัดสุรินทร์ คือ ช้าง ปราสาทขอม ๒) ด้านตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดขาย คือ ช้าง ผ้าไหม ประเกือม ปราสาทขอม วัดป่าอา เจียง(สุสานช้าง) วัดตะเคียน วัดเขาศาลา ๓) ด้านการคัดเลือกวัตถุดิบ คือ ทุนของชุมชนและทุนทาง วัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงกับช้าง ผ้าไหม ประเกือม ปราสาทขอม วัด ๔) ด้านกระบวนการหรือวิธีการผลิต คือ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุนชุมชนและวัฒนธรรม สร้างอัตลักษณ์ ดัดแปลง พัฒนา ให้เกิดความ ประทับใจ จดจำ เข้ากับยุคสมัย ใช้วัสดุคุณภาพ มีขั้นตอนการผลิตชัดเจน ๕) ด้านบรรจุภัณฑ์หรือการ นำเสนอ เช่น ออกแบบสวยงาม ดึงดูดใจ ๖) ด้านบริการและจัดช่องทางจำหน่าย เช่น ให้ความรู้ เข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว ๗) ด้านการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ เช่น สร้างสัญลักษณ์ยึดโยงกับช้าง หมู่บ้านผ้าไหม ประเกือม ปราสาทขอม วัด ๘) ด้านการเข้าถึงผู้บริโภค เช่น เผยแพร่ตามหน่วยงานรัฐ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ออนไลน์ เปิดร้านขายเอง ส่งขายในตัวเมือง ขายลูกค้า นักท่องเที่ยว ขาย ตามปั้มน้ำมัน ขายออนไลน์ ให้ที่วัดจัดแสดงสินค้า ออกร้านตามงานประเพณีต่าง ๆ เป็นต้น การใช้ประโยชน์อัตลักษณ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวหมู่บ้านท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ หมู่บ้านช้าง ผ้าไหม ประเกือม กลุ่มปราสาทขอม และทางพระพุทธศาสนา จำแนกเป็น ๓ ด้าน ดังนี้๑) ด้านเศรษฐกิจ เช่น เป็นแหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศ ดุลการชำระเงิน การลงทุน สร้างรายได้ สร้าง งาน กระจายรายได้ ความเจริญสู่ภูมิภาค สร้างความมั่นคงปลอดภัยพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว สร้างสัมพันธ์ อันดีต่อกันระหว่างคนในชาติและต่างชาติ เกิดการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ๒) ด้านการเมือง เช่น เป็นสื่อสร้างความเข้าใจอันดีทางการเมือง สร้างภาพพจน์ที่ดีกับคนในชาติและต่างชาติ เป็น เครื่องมือพัฒนาท้องถิ่นที่ดี ๓) ด้านสังคม เช่น สร้างความรู้เข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างคนในท้องถิ่น พัฒนายและกระดับความเจริญท้องถิ่น เกิดความมั่นคงปลอดภัยในสังคม สร้างและกระจายรายได้ให้ ท้องถิ่น สร้างเสริมสุขภาพกายและจิตที่ดี เกิดการแลกเปลี่ยนอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น กระตุ้นให้นำประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นออกเผยแพร่ เพื่อดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวมากขึ้น สร้าง ความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรม เกิดการพัฒนาภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมให้ดีและสวยงาม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/696
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.