Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/692
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกนฺตธมฺโม, พระมหาสหาย-
dc.contributor.authorปญฺญาวฑฺฒโน, พระมหาปิยะบุตร-
dc.date.accessioned2022-03-29T07:57:35Z-
dc.date.available2022-03-29T07:57:35Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/692-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในการพัฒนาสังคมอย่าง ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาสังคมขององค์กรพระพุทธศาสนาในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อ ศึกษาการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และเพื่อวิเคราะห์ เครือข่ายกับการขับเคลื่อนพระพุทธศาสนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากร และนักวิชาการ ส่วนงานที่เกี่ยวข้องการสร้างเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา องค์กรที่มีบทบาทและ ความสัมพันธ์เกี่ยวกับกระบวนการสร้างเครือข่ายการพัฒนาสังคมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ๑. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ๒. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ๓. วิทยาลัย สงฆ์พุทธโสธร ๔. วัดวีระโชติธรรมาราม ๕. วัดสมานรัตนาราม ๖. มูลนิธิโพธิวัณณา โดยการเลือกแบบ เจาะจง (purposive sampling) จำนวน ๒๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สัมภาษณ์แบบ เจาะลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า ๑. การพัฒนาสังคมขององค์กรพระพุทธศาสนาในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า มีการพัฒนา สังคมในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เรียกว่า โครงการ โดยมีจุดเน้นในการพัฒนา สังคมให้เป็นสังคมคุณธรรม โดยเริ่มเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ประชาชนเป็นอันดับแรก และ ขยายผลไปสู่ หน่วยงาน องค์กร ชุมชน อำเภอ และจังหวัด ให้สังคมเป็นสังคมคุณธรรมที่เข้มแข็งอย่าง ยั่งยืน ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ โดยมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างและพัฒนาสังคม ให้เป็นสังคมคุณธรรมที่ ประชาชนดำรงชีวิตตามหลักคำสอนทางศาสนาที่ตนนับถือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถี วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม ประชาชนมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการจัดทำแผนพัฒนาทั้งที่เป็น แผนระยะสั้นและแผนระยะยาว ในรูปแบบที่เป็นกิจกรรมและโครงการ ๒. การสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน พบว่า องค์กร พระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทราได้ร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายในการที่จะพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งการ จัดตั้งเครือข่ายขององค์กรจังหวัดจะมีลักษณะทั้งที่เป็น MOU คือการทำสัญญาร่วมกันอย่างเป็นลาย ลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีการจัดกิจกรรมหรือโครงการสำคัญอันจะเป็นประโยชน์ ต่อสังคมและส่วนรวม ทุกองค์กรมีการให้ร่วมมือ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี ๓. การวิเคราะห์เครือข่ายกับการขับเคลื่อน พระพุทธศาสน า พบว่า องค์กร พระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรามีเป้าหมายในการพัฒนาคนให้มีคุณธรรมจริยธรรม โดยมุ่งเน้นการ ข พัฒนาจิตใจไปพร้อมกับการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็ง ซึ่งเป็นรากฐานที่มั่นคง ของประเทศ และการที่จะขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของ ทุกภาคส่วน และการขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาจะเกิดผลในทางปฏิบัติได้จริงนั้นจะต้องมีการทำงาน ร่วมกันอย่างใกล้ชิดของทุกภาคส่วน และการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเครือข่ายเป้าหมาย ๒) ลงพื้นที่พบปะผู้นำเครือข่ายต่าง ๆ ๓) จัด ประชุมสร้างความเข้าใจกับผู้นำหน่วยงาน องค์กร ชุมชนซึ่งเป็นเครือข่ายเป้าหมาย ต่าง ๆ และเป็น การเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ๔) สร้างการรับรู้สู่สมาชิกในชุมชน องค์กร เครือข่ายเป้าหมาย ต่าง โดยจัดประชุมประชาคมชุมชน หรือสมาชิกองค์กร ๕) บูรณาการดำเนินงานพัฒนาสังคมร่วมกับ เครือข่าย อย่างใกล้ชิด ผ่านการจัดโครงการ กิจกรรมในการพัฒนาสังคมร่วมกัน อย่างต่อเนื่องen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเสริมสร้างเครือข่ายen_US
dc.subjectองค์กรพระพุทธศาสนาen_US
dc.subjectการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนen_US
dc.titleการเสริมสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนen_US
dc.title.alternativeThe Enhancement of the Buddhist Organizational Network for Sustainable Social Developmenten_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-284พระมหาสหาย กนฺตธมฺโม.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.