Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/691
Title: กระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเชิงพุทธบูรณาการ ในโรงเรียน จังหวัดนครสวรรค์
Other Titles: The Process of Preventing and Solving Drug Problems in Nakhonsawan Schools by Buddhist Integration
Authors: อุตฺตโร, อุดร
สมส่วน, พระศรีสุทธิพงศ์
เขมโก, พระครูใบฎีกามณฑล
สุรปญฺโญ, ยรรยง
ฉิ่นไพศาล, นิทรา
Keywords: กระบวนการ
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
พุทธบูรณาการ
โรงเรียน
จังหวัดนครสวรรค์
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “กระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเชิงพุทธบูรณาการ ในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์” ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ (๑) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครสวรรค์ (๒) เพื่อศึกษากระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักพระพุทธศาสนา และ (๓) เพื่อนาเสนอกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเชิงพุทธบูรณาการในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ วิธีดาเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) เป็นทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ และโรงเรียนนครสวรรค์ จานวน ๕๘๙ คน และการวิจัยภาคสนามจากการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในลักษณะการเขียนบรรยายสรุปเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ๑. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดนครสวรรค์ มีองค์ประกอบ ๖ ด้าน ได้แก่ ๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด ๒) พฤติกรรมป้องกันตนเองจากยาเสพติด ๓) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด ๔) การมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัวของนักเรียน ๕) การได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนของนักเรียน และ ๖) การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านพฤติกรรมป้องกันตนเองจากยาเสพติด อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด อยู่ในระดับมาก ๒. กระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักสัปปุริสธรรม ๗ ซึ่งประกอบด้วย ธัมมัญญุตา ความรู้จักเหตุ อัตถัญญุตา ความรู้จักผล อัตตัญญุตา ความรู้จักตน มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ กาลัญญุตา ความรู้จักกาล ปริสัญญุตา ความรู้จักบริษัทหรือชุมชน และปุคคลปโรปรัญญุตา ความรู้จักบุคคล ๓. กระบวนการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเชิงพุทธบูรณาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสวรรค์ พบว่า กระบวนการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประกอบด้วย ๑) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ นักเรียนต้องมีความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติดเป็นอย่างดี จึงจะไม่เกี่ยวข้องหรือเสพยาเสพติด ๒) พฤติกรรมป้องกันตนเองจากยาเสพติดตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ นักเรียนต้องมีการป้องกันตนเองด้วยการปฏิเสธการทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิด และนักเรียนมีความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติดเป็นอย่างดีจึงไม่เกี่ยวข้องหรือเสพยาเสพติด จะปฏิเสธทันทีเสมอเมื่อเพื่อนนายาเสพติดมาและชวนให้เสพยาเสพติด ๓) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ต้องเปิดช่องรับแจ้งเบาะแสข่าวสารแบบไม่เปิดเผยผู้ให้ข่าวได้หลายช่องทาง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ๔) การมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัวของนักเรียนตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ครอบครัวถือเป็นสถาบันแรก ที่มีบทบาทหน้าที่ในการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยตรงพ่อแม่เป็นบุคคลสาคัญในการอบรม เลี้ยงดูสั่งสอนลูก นอกจากนี้ยังจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน ๕) การได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนของนักเรียนตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ควรเลือกคบเพื่อนที่ดี ควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ปลูกฝังให้มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อยาเสพติด ควรจัดกิจกรรมหรือจัดกีฬาต้านยาเสพติด และ ๖) การเห็นคุณค่า ในตนเองของนักเรียนตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ นักเรียนต้องเข้าใจตนเองมากขึ้น สามารถควบคุมตนเองได้มากขึ้น และมีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงจากการที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและสามารถปรับตัวในการดาเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/691
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-018พระมหาอุดร อุตฺตโร (.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.