Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/689
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกิตติพงศ์, พระครูสังฆรักษ์-
dc.date.accessioned2022-03-29T07:35:09Z-
dc.date.available2022-03-29T07:35:09Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/689-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา 2) ศึกษากระบวนการสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของสถาบันการศึกษาในสังคมไทย 3) เสริมสร้างกระบวนการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา 4) สังเคราะห์หลักพุทธธรรมใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) โดยการวิจัยจากการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) การศึกษาข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ (primary Source) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) การสัมภาษณ์(Interviews) และการจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) รวมถึงข้อมูลผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ผลการวิจัย การศึกษาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) พลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา มีลักษณะสำคัญ 3 ด้าน คือ (1) ด้านคารวะธรรม ได้แก่ เคารพในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเคารพในความเป็นมนุษย์ ด้วยการปฏิบัติตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม ใช้สิทธิหน้าที่อันเหมาะสม และปฏิบัติตามระเบียบสังคม (2) ด้านสามัคคีธรรม ได้แก่ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ขยันหมั่นเพียร อดทน ร่วมแรงร่วมใจไม่เอาเปรียบ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และ (3) ด้านปัญญาธรรม ได้แก่ การไม่ยึดถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ และไม่ยึดติดในอำนาจในตำแหน่ง เป็นผู้ใช้สติพิจารณาใคร่ครวญ ไตร่ตรอง พิจารณาเหตุผลในการตัดสินปัญหา ด้วยใจเป็นกลาง 2) แนวคิดและรูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า การจัดการเรียนรู้ควรนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ และให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 โดยเฉพาะเรื่องของความมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความสามัคคี ความละอายและเกรงกลัวในen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการเรียนรู้en_US
dc.subjectจิตสำนึกen_US
dc.subjectพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาen_US
dc.titleการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeLEARNING MANAGEMENT TO RAISE THE CITIZENSHIP CONSCIOUSNESS BASED ON BUDDHSIM IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-018 พระครูสังฆรักษ์กิตติพงศ์.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.