Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/688
Title: การศึกษารูปแบบและคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรมของพระสงฆ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอิทธิพลต่อศรัทธาของประชาชน
Other Titles: A Study of Form and Value of Logical Rationality in Dhamma Teaching of the Northeastern Buddhist Monks Influenced to the Public Faith
Authors: โสดาดี, บรรจง
ทองทิพย์, ทวีศักดิ์
พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ
Keywords: รูปแบบและคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรม
พระสงฆ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อิทธิพลต่อศรัทธาของประชาชน
Issue Date: 2555
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การศึกษารูปแบบและคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรมของพระสงฆ์ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอิทธิพลต่อศรัทธาของประชาชน” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาพัฒนาการสำนักปฏิบัติธรรม รูปแบบของเหตุผลในการสอนธรรม และคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรมของพระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอิทธิพลต่อศรัทธาของประชาชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นข้อมูลเอกสารเป็นหลักแล้วนามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ตามรูปแบบเหตุผล แล้วอธิบายเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติธรรมกรรมฐานมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ต่อมาหลังพุทธกาลภารกิจ ของพระสงฆ์ได้พัฒนาไปสู่รูปแบบวิปัสสนาธุระกับคันถธุระ การปฏิบัติธรรมในประเทศไทย เริ่มปรากฏชัดในสมัยสุโขทัย โดยคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีเน้นภารกิจด้านวิปัสสนาธุระ ส่วนคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสีเน้นภารกิจด้านคันถธุระ ตั้งแต่รัตนโกสินทร์ตอนกลางเป็นต้นมา เกิดมีสานักปฏิบัติธรรมหลายสาย เช่น สายภาวนาพุทโธ พองหนอยุบหนอ เป็นต้น สานักปฏิบัติธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มปรากฎชัดเจนขึ้นจากแนวทางของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ชาวอุบล ที่ได้ฝึกฝนตนเองพร้อมอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ในรูปแบบจาริกธุดงค์บาเพ็ญภาวนาตามป่าเขา ทาให้เกิดรูปแบบปฏิบัติวัดป่าขึ้นและแพร่หลายออกไป หลวงพ่อชา สุภทฺโท ศิษย์หลวงปู่มั่น ยึดเอาแนวทางของวัดป่าพัฒนาตนเองและลูกศิษย์ พร้อมกับบริหารจัดการวัดหนองป่าพงให้เป็นต้นแบบวัดป่าที่มีมาตรฐานสูง ลักษณะสาคัญของสานักปฏิบัติธรรมวัดป่า จัดอาณาบริเวณให้เป็นรัมณียสถาน เหมาะสาหรับการบาเพ็ญภาวนา เน้นความเป็นธรรมชาติ กลมกลืนกับธรรมชาติ ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ยึดระเบียบแบบแผนปฏิบัติที่เรียบง่าย บนพื้นฐานพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มุ่งบรรลุธรรมตามอุดมคติพุทธศาสนา ในปัจจุบันรูปแบบวัดป่าตามแนวทางหลวงปู่มั่นและหลวงพ่อชา ได้รับความเชื่อถือโดยทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ การศึกษารูปแบบของเหตุผลในการสอนธรรมพบว่า แนวคิดการสอนของพระพุทธศาสนา ได้พัฒนาระบบการศึกษาแบบครัวเรือนของชาวอารยันไปสู่สถาบันทางการศึกษาคือวัดในพุทธศาสนา โดยมีบรมครูคือพระพุทธเจ้าและสาวกสงฆ์ทาหน้าที่ฝึกฝนอบรมตามหลักไตรสิกขา แนวคิดพุทธตรรกศาสตร์ มีการใช้เหตุผล ๓ ระดับ คือ ระดับสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา เพื่อประกาศเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนาอยู่ทั่วไป หลังพุทธกาลตรรกศาสตร์พุทธ ได้รับการพัฒนาการอย่างเป็นระบบคู่ขนานกับการปฏิบัติธรรม ส่วนรูปแบบการใช้เหตุผลในการสอนธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงพ่อชา สุภทฺโท จัดได้ ๕ รูปแบบ ได้แก่ แบบนิรนัย แบบอุปนัย แบบเปรียบเทียบ แบบปฏิบัติภาวนา และแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็นแบบสืบสาวเหตุปัจจัย แบบแยกแยะส่วนประกอบ แบบสามัญลักษณ์หรือแบบรู้เท่าทันธรรมดา แบบอริยสัจหรือแบบแก้ปัญหา แบบอรรถธรรมสัมพันธ์ แบบรู้ทันคุณโทษและทางออก แบบ คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม แบบเร้ากุศล แบบอยู่กับปัจจุบัน และแบบวิภัชชวาท การศึกษาคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรมของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงพ่อชา สุภทฺโท พบว่า มีการใช้เหตุผลแบบนิรนัย อุปนัย เปรียบเทียบ และโยนิโสมนสิการ เพื่อสร้างศรัทธา ความเข้าใจพุทธธรรมในเบื้องต้น เน้นให้เกิดความรู้ระดับสุตมยปัญญาและจิตามยปัญญา ใช้เหตุผลแบบปฏิบัติภาวนา เพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ที่ละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง กระจ่างชัดที่สุด สามารถข้ามพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ อิสระจากอวิชชาตัณหา อุปาทาน มุ่งให้เกิดความรู้ระดับภาวนามยปัญญา การใช้เหตุผลดังกล่าวก่อให้เกิดคุณค่า ๕ ด้าน ได้แก่ คุณค่าด้านปัญญา คือ มีทัศนคติที่ถูกต้อง เกิดความรู้ความเข้าใจต่อโลกและชีวิต ฉลาดรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีความอิสระ หลุดพ้น ปล่อยวางได้ คุณค่าด้านจิตใจ คือ มีจิตมั่นคง เข้มแข็งอดทน จิตสะอาด บริสุทธิ์ สงบร่มเย็น มีความสุขในการใช้ชีวิต คุณค่าด้านปฏิบัติ คือ มีความสามารถในการจัดการความเป็นอยู่ทางกายภาพเป็นระเบียบและปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมทางวัตถุได้ถูกต้องมากขึ้น คุณค่าด้านเศรษฐกิจ คือ จัดการความเป็นอยู่ ขั้นพื้นฐานการผลิตและบริโภค ได้ถูกต้องไม่ก่อความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและผู้อื่น คุณค่าด้านสังคม คือ มีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์และเพื่อนร่วมโลกได้ด้วยดี มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันและ เป็นส่วนร่วมที่สร้างสรรค์สังคม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/688
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2555-052 ผศ.บรรจง โสดาดี.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.