Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/687
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระครูพิจิตรศุภการ, ดร. | - |
dc.contributor.author | รักนุ้ย, ประสิทธิ์ | - |
dc.contributor.author | วนิดา, เหมือนจันทร์ | - |
dc.contributor.author | ประสิทธิ์ศร, นฤมล | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-29T06:52:35Z | - |
dc.date.available | 2022-03-29T06:52:35Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/687 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบสถานศึกษาที่จัดให้มีการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ของชุมชน ๒) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรที่สนองตอบความต้องการของชุมชน ๓) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบสถานศึกษาและกระบวนการวิเคราะห์หลักสูตรที่สนองตอบเจตนารมณ์ของชุมชน ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ โดยการดำเนินงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) คือการใช้วิจัยที่ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มาผสมผสานกันในการทำวิจัยเรื่องเดียวกัน เพื่อที่จะตอบคำถามการวิจัยได้สมบูรณ์มากขึ้น จากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้นำทางวิชาการจาก ๔ โรงเรียน จำนวน ๘ คน คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา จำนวน ๔ คน หัวหน้ากลุ่มสาระเรียนรู้ จำนวน ๘ คน ตัวแทนครู ๔ คน ตัวแทนนักเรียน จำนวน ๔ คน ตัวแทนชุมชน จำนวน ๔ คน รวม ๓๔ คน จากการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) และจากการแจกแบบสอบถามคุณครู/ตัวแทนนักเรียน (Questionnaire) จำนวน ๑๐๐ คน จาก ๔ โรงเรียน ๆ ละ ๒๕ คน ซึ่งผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpose Sampling) ผลวิจัยพบว่า ๑) รูปแบบสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนให้มีการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ของชุมชนเพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาประเทศไทย ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ พบว่า สถานศึกษามีบรรยากาศสิ่งแวดล้อมดี อาคารเรียน อุปกรณ์พร้อม ครูมืออาชีพสอนตรงตามสายรายวิชาที่จบการศึกษามาโดยตรงมีคณะทำงาน อาทิ คณะกรรมการการบริหาร วิชาการ ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมสนับสนุนให้นักเรียนคิดวิเคราะห์มี การฟัง คิด ถามเขียน จัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์/ชิ้นงานสามารถนำไปบูรณาการ ๔ ศาสตร์วิชา STEM เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆสู่สังคม/ชุมชนและสามารถบูรณาการกับหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้ให้กับนักเรียน/ชุมชน เช่น หลักสูตรเศรษฐกิจพิเศษ การซ่อมรถจักรยานยนต์การนวดแผนไทย การบูรณาการสร้างหุ่นยนต์กวาดขยะ หุ่นยนต์อัตโนมัติการเก็บกระป๋อง เปลือกผลไม้ ๓ ชนิดชะลอการบูดของข้าวสุก กล้วยน้ำว้ามะละกอ เงาะ ผ่านกระบวนการทดลองมาแล้วเป็นอย่างดีและสิ่งสำคัญมีการสร้างธรรมาภิบาลคุณธรรมในองค์กรแก่ ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ๒) กระบวนการการบริหารหลักสูตรที่สนองตอบความต้องการของชุมชน ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=๔.๒๖, S.D.=๐.๖๘) มีโครงสร้างฝ่ายบริหาร ฝ่ายอื่นๆที่ชัดเจน อาทิ วิชาการ กลุ่มงานที่รับผิดชอบ หลักสูตรทั้ง ๔ ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์ สามารถเอื้อต่อผู้เรียนยืดหยุ่นบูรณาการประยุกต์ใช้กับหลักสูตรท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ในการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างนวัตกรรม มีการวิเคราะห์หลักสูตรมีครูเป็นที่ปรึกษา นักเรียน ชุมชน/ปราชญ์ชาวบ้านมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารหลักสูตรที่สนองตอบชุมชนและสนองตอบนโยบายของรัฐบาล มีนวัตกรรมผ่านกระบวนการพิสูจน์/ทดลอง มีการส่งเข้าประกวดแข่งขันในระดับจังหวัดและระดับชาติ เป็นนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดให้เกิดรายได้แก่ นักเรียนโรงเรียน/ชุมชนได้ . ๓). ตัวแบบสถานศึกษาตามความต้องการของชุมชนและรองรับนโยบายการพัฒนายุคไทยแลนด์ ๔.๐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X=๔.๑๘,S.D.=๐.๖๙) เป็นสถานศึกษาที่มีความพร้อม อาคารสถานที่ อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมดี บรรยากาศสร้างแรงจูงใจให้เกิดใฝ่รู้ใฝ่เรียน ครูมืออาชีพ ชุมชนมีส่วนร่วม เป็นสถานศึกษาที่ได้รับความไว้วางใจจากชุมชน/สังคม ยอมรับในกระบวนการการบริหารจัดการ ชุมชนส่งบุตรหลานเข้าศึกษาเล่าเรียนในสถาบันแห่งนี้ โรงเรียนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสังคม อาทิ มีโล่รางวัลประกาศนียบัตรรับรองผลงานในรอบปี จากการที่ผู้วิจัยลงภาคสนามพบปะพูดคุย สังเกต สอบถาม | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | รูปแบบการจัดการศึกษาที่พึงประสงค์ของชุมชน | en_US |
dc.subject | นโยบายการพัฒนาประเทศไทยยุคไทยแลนด์ ๔.๐ | en_US |
dc.title | รูปแบบการจัดการศึกษาที่พึงประสงค์ของชุมชน เพื่อรองรับนโยบายการพัฒนาประเทศไทยยุคไทยแลนด์ ๔.๐ | en_US |
dc.title.alternative | Desirable educational management style meets the needs of community to support Thailand’s development policy era Thailand 4.0 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-113 พระครูพิจิตรศุภการ,ดร..pdf | 4.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.