Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/686
Title: พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา : ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ทางสังคม
Other Titles: The Buddhism in Cambodia : History Cultural and Social Relationship
Authors: พระศรีวิสุทธิคุณ, ดร.
พระครูสิริปริยัติวิธาน, -
แสนดี, พระฉลอง
Keywords: พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา
ประวัติศาสตร์
วัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ทางสังคม
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา โดยผ่านการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง การจัดการพระพุทธศาสนา ความสัมพันธ์ ทางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางศาสนาและ วัฒนธรรม และวิเคราะห์ถึงแนวโน้มและทิศทางของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคมและ วัฒนธรรมในประเทศกัมพูชา การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การ สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และจากการสังเกตอย่างไม่เป็นทางการ แล้วทาการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑) พระพุทธศาสนา ได้เข้ามาเผยแผ่ในดินแดนที่เรียกว่ากัมพูชา ตั้งแต่สมัยหลังสังคายนา ครั้งที่ ๓ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงยอมรับพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการปฏิบัติ สืบ ทอดกันมาเป็นยุคสมัย คือ (๑) ยุคฟูนัน ซึ่งมีลักษณะของพระพุทธศาสนามหายาน (๒) ยุคเจนละ ซึ่งมีลักษณะเป็นพระพุทธศาสนามหายาน (๓) ยุคพระนครซึ่ง พระพุทธศาสนาลุถึงความเจริญถึงขีดสุดในมัยพระเจ้าชยวรมันที่ ๗ ซึ่งนับว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนา และ (๔) ยุคหลังพระนคร พระพุทธศาสนาเถรวาทได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ในระยะที่ เขมรแดงมีอานาจ พระพุทธศาสนาถูก ปราบปรามจนสิ้นสูญ พอหมดยุคของเขมรแดงแล้ว พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง จนกระทั่ง เป็นศาสนาประจาชาติที่ได้รับการบรรจุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ๒) เมื่อพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศกัมพูชาแล้ว ได้มี การจัดการ ด้าน พระพุทธศาสนา เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของแต่ละยุค กระทั่งในปัจจุบัน การจัดการ ด้าน การปกครอง คณะสงฆ์กัมพูชามีองค์กรการปกครองสูงสุดโดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้นาทั้งฝ่าย มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย และมีการปกครอง คณะสงฆ์ระดับรัฐถึงระดับวัด พระสงฆ์มีความ ตระหนักถึงประวัติศาสตร์ มีความเป็น “พระสงฆ์ของชาวบ้าน” การจัดการด้านการศึกษา ปัจจุบันมีองค์กรจัดการศึกษาโดยอิสระคือจัดการเรียนการสอนที่วัด และองค์กรที่รัฐบาลอุปถัมภ์ มี สถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมที่จะรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน เช่น มหาวิทยาลัยพุทธิกศึกษา ๓) ด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชาด้วยระยะเวลานับ พันปีแล้ว เป็นเหตุให้สังคม วัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา พัฒนาการเป็นกระบวนการเสริมสร้างซึ่ง กันและกันอย่างเหนียวแน่น ประชาชนยึดมั่นในพระรัตนตรัย แล้วแสดงออกมาด้วยการให้ทาน รักษา ศีล เจริญภาวนา ตามเทศกาล เช่น วันธรรมสวนะ มีประเพณีสิบสองเดือนที่เชื่อมโยงระหว่างความ เชื่อทางพระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมประเพณี สิ่งเหล่านี้ทาให้เกิดกระบวนการ “วิถีพุทธแบบ กัมพูชา” แม้ว่าประเทศกัมพูชาเคยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่อิทธิพลของฝรั่งเศสไม่สามารถ เข้ามาแทนที่วัฒนธรรมเชิงพุทธได้ แม้ถูกเขมรแดงปราบปรามชนิดที่เรียกว่าสิ้นซาก แต่ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง ทำให้พระพุทธศาสนายังคงเป็นตัวเชื่อมระหว่างสังคมกับวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ๔) ในอนาคต แนวโน้มและทิศทางของพระพุทธศาสนา ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางสังคม และวัฒนธรรมที่จะกาหนดทิศทางว่าพระพุทธศาสนาจะขับเคลื่อนไปในทิศทางใดและอย่างไร ใน ขณะเดียวกัน องค์กรทางพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ และประชาชน อาจจะต้องเรียนรู้กระแส ความก้าวหน้าทางวัตถุอย่างรู้เท่าทัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้กาลังเข้ามาพร้อมกับการเปิดประเทศ ทั้งนี้เพื่อท้า ทายพลังแห่งจิตวิญญาณ และพลังแห่งศรัทธาในพระรัตนตรัยของแต่ละคนด้วย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/686
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2556-063 พระศรีวิสุทธิคุณ (ดร.).pdf21.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.