Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/685
Title: | การศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในวรรณกรรมสินไซ |
Other Titles: | An analytical study of Buddhist Ethics in Synshai Literature |
Authors: | บำรุงภักดิ์, โสวิทย์ |
Keywords: | การศึกษา พุทธจริยศาสตร์ วรรณกรรมสินไซ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่ เพื่อปัญหาจริยธรรมและการปฏิบัติในเชิงความสัมพันธ์อันดีงามในวรรณกรรมสินไซ เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในวรรณกรรมสินไซ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์เกณฑ์วินิจฉัยและเป้าหมายจริยธรรมของวรรณกรรมสินไซ และเป็นการวิจัยเอกสาร ด้วยการศึกษาหนังสือสินไซฉบับใบลาน เมืองขอนแก่น ปี ๒๕๕๙ คัดลอกโดยบุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล และคณะ เป็นหนังสือหลัก ส่วนหนังสือสินไซฉบับอื่นๆ เป็นหนังสือรอง และใช้วิธีการศึกษาด้วยการตีความ วิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลและให้เหตุผล และสังเคราะห์ข้อมูลออกเป็นความรู้ความเข้าใจใหม่ แล้วนาเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาจริยธรรมในวรรณกรรมสินไซเป็นปัญหาเกี่ยวกับการลักขโมย การมีภรรยาหลาย การใช้คุณไสย์ การผิดประเวณี ส่วนการประพฤติปฏิบัติต่อกันในเชิงความสัมพันธ์อันดีงามมี ๒ ระดับ คือ ระดับครอบครัวและระดับเครือญาติ การอธิบายปัญหาจริยธรรมดังกล่าวใช้ศาสตร์ที่ชื่อพุทธจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นระบบความรู้ทางพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ โดยอยู่ภายใต้กรอบศีลธรรมได้บอกล่าว (ไขความ) ถึงศีลห้า ธรรมขั้นศีลหรือธรรมคือศีล และหลักธรรมในพุทธศาสนา ได้แก่ เรื่องทุกข์ กามตัณหา กรรมเก่า ภายใต้กรอบคุณธรรมได้บอกกล่าวถึงทศพิธราชธรรม มรรคแปด และคติธรรมที่เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง และภายใต้กรอบจริยธรรมได้บอกกล่าวถึงจริยธรรมที่พึงประสงค์และจริยธรรมที่ไม่พึงประสงค์ เกณฑ์วินิจฉัยจริยธรรมมี ๒ ประการ คือ (๑) เกณฑ์หลักเป็นเกณฑ์ที่ถือเอาตามหลักการในพุทธศาสนา คือ เจตนาซึ่งเป็นความจงใจ ตั้งใจและมุ่งหมายในการกระทาสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นกุศลคือความดีหรือสิ่งดีงาม และที่เป็นอกุศลคือความไม่ดีหรือความชั่ว หรือเรียกว่าเกณฑ์ตามหลักกรรมนิยาม (๒) เกณฑ์ร่วมหรือเกณฑ์รองเป็นเกณฑ์ที่ถือเอาหลักมโนธรรมซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดี รู้ว่าอะไรควรทาอะไรไม่ควรทา และมติของท่านผู้รู้หมายเอาคนมีปัญญาที่เฝ้าคอยกากับควบคุมการกระทาการแสดงออกของคนในชุมชน ส่วนเป้าหมายของการกระทาในวรรณกรรมสินไซคือการปิดป้องช่องว่างระหว่างตนเองกับบุคคลผู้เกี่ยวข้องและเป็นที่รักมีมารดา บิดา บุตร ธิดา เป็นต้น |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/685 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-094 โสวิทย์ บำรุงภักดิ์.pdf | 6.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.