Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/683
Title: | การพัฒนาภูมิสถาปัตยกรรมของวัดตามหลักจักรวาลวิทยา |
Other Titles: | The Development of Architecture Landscape of Wat Concerning Cosmology |
Authors: | พระครูสิริรัตนานุวัตร, - รศ.ดร. |
Keywords: | การพัฒนาภูมิสถาปัตยกรรม วัด หลักจักรวาลวิทยา |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาภูมิสถาปัตยกรรมของวัดตามหลักจักรวาลวิทยานี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดภูมิสถาปัตยกรรมในไตรภูมิ (2) เพื่อสารวจโครงสร้าง ลักษณะภูมิสถาปัตยกรรมของวัดตามหลักจักรวาลวิทยาและ (3) เพื่อศึกษาภูมิสถาปัตยกรรมของวัดที่สอดคล้องกับจักรวาลวิทยาในไตรภูมิ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลภาคเอกสารชั้นปฐมภูมิ ทุติยภูมิ รายงานการวิจัย และภาคสนามโดยการสัมภาษณ์มีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจงและการสนทนากลุ่มย่อย คัดเลือกพื้นที่ตัวอย่างที่มีภูมิสถาปัตยกรรมไตรภูมิที่สมบูรณ์ คือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกและอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดภูมิสถาปัตยกรรมตามหลักจักรวาลวิทยาในไตรภูมิ มีคำนิยามและจุดมุ่งหมายว่า การศึกษาเอกภพหรือโลกที่เป็นองค์รวมบรรดามีทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ดิน น้ำ อากาศ มีลักษณะหมุนไปวนรอบ ตามแนวคิดพระพุทธศาสนาคือจักรวาลทางจริยธรรมในฐานะที่รองรับผลการกระทำของมนุษย์ มี 3 ส่วนใหญ่ ๆ และ 31 องค์ประกอบย่อย ซึ่งจำลองภาพออกมาด้วยภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมทางไตรภูมิ โดยภูมิ คือ พื้นที่หรือทิศทางภูมิศาสตร์และทิศทางธรรม เกี่ยวข้องกับการวางแผนผัง การกำหนดทิศคือตามคติและความเชื่อกับสถาปัตยกรรมในไตรภูมิที่เป็นเจดีย์ อาคารวิหาร อุโบสถที่ถือเป็นแกนกลางของวัดตามคติเขาพระสุเมรุที่ถือเป็นแกนกลางของจักรวาล ตามคติของพราหมณ์ถือว่า พระอิศวรเจ้ามีประสงค์จะประดิษฐานภูเขาใหญ่ให้เป็นหลักของโลก จึงเอาพระจุฑามณี (ปิ่นปักผม) ปักลงที่กลางพื้นพิภพ บันดาลให้เป็นเขาพระสุเมรุที่ประกอบด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ แม่น้าสีทันดร ทวีป เพื่อเป็นที่สถิตของเทพทั้งหลายโดยเทพอิศวรสถิตอยู่ ณ ยอดเขานี้ ไตรภูมิสัมพันธ์กับการปฏิบัติธรรมของมนุษย์ ในส่วนกามภูมิ เป็นภูมิของมนุษย์ เทวดา นรก มีลักษณะหนาทึบสื่อถึงมนุษย์ที่มีกิเลสยังหนา ยังข้ามพ้นวัฏสงสารไม่ได้ ส่วนรูปภูมิ เป็นส่วนที่มีรูปวัตถุแต่เบาบาง สื่อถึงผู้ปฏิบัติในฌานสมาธิมีกิเลสเบาบางประหนึ่งแสงจันทร์ ส่วนอรูปภูมิ เป็นส่วนไม่มีรูปวัตถุ สื่อผู้ปฏิบัติในฌานสมาธิจนได้กายละเอียด มีลักษณะโปร่งแสง หมายถึงป๎ญญา ที่เปรียบด้วยแสงสว่าง ซึ่งสัมพันธ์กับภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมที่มีมุมมืดและมุมสว่าง การสำรวจภูมิสถาปัตยกรรมตามหลักจักรวาลวิทยาในวัด พื้นที่ตัวอย่าง 2 แห่งคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก และวัดอินทราวาส เชียงใหม่ ด้านภูมิทัศน์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน เมืองโอฆะบุรีโบราณ ทั้งนี้สอดคล้องกับพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้โดยหันพระพักตร์ไปทิศตะวันออกและแม่น้ำเนรัญชรา เป็นที่นิยมสร้างโปกขรณีในวัด หรือหน้าโบสถ์พราหมณ์ วัดนี้มีพระวิหารหลวง มีพระเจดีย์ปรางค์เป็นแกนกลางของวัด จำลองด้วยฐานแห่งกุศลหรืออกุศล มีอนุทวีปทั้ง 4 มีซุ้มจารนำตามคติสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช โดยจำลองสวรรค์ และโลกุตตรธรรม 9 พระวิหารเป็นประธานของวัด เป็นสถาปัตยกรรมรูปฟักหน้าพรหมหรือ จั่วภควัน มีวิหารคดที่ล้อมรอบพระวิหารและถือเป็นที่ประทับของอรหันตสาวก บริวารของพระพุทธเจ้า มีพระอุโบสถและวิหารอัฏฐารสหรือวิหารเก้าห้องหันไปทางทิศตะวันออกตามคติทางพระพุทธศาสนา แบ่งเขตแดนเป็นพุทธาวาส สังฆาวาส ธรรมาวาส พื้นที่บริการสังคม และพื้นที่จิตวิญญาณ และอีกวัดตัวอย่างหนึ่งคือ วัดอินทราวาส (ต้นแกว๋น) พระวิหารหลวงเป็นประธานของวัด มีลักษณะเรือสำเภาที่สื่อถึงการนาสรรพสัตว์ข้ามพ้นทุกข์ ส่วนแกนกลางของวัดถือเอาศาลาจัตุรมุข ที่สื่อถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เป็นที่พักสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุแล้วที่แห่ยาตราจากพระธาตุศรีจอมทองเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ มีกำแพงโบราณเช่นเดียวกับกำแพงจักรวาลในไตรภูมิ มีเขตพุทธาวาส สังฆาวาส ธรรมาวาส พื้นที่บริการสังคม และพื้นที่จิตวิญญาณ แนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์ภูมิสถาปัตยกรรมของวัดโดยให้สอดคล้องกับจักรวาลในไนภูมิ ในส่วนภูมิทัศน์ให้คำนึงถึงความร่มรื่น ร่มเย็น สงบ ด้วยต้นไม้ บ่อน้ำ อากาศบริสุทธิ์ เป็นที่วิเวก ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม เป็นที่สัปปายะด้านอาหาร การคมนาคม มีสภาพแวดล้อมดี เหมาะสมใช้เป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัยตามอุดมคติของพระสงฆ์ ส่วนสถาปัตยกรรมนั้นให้คำนึงถึงความสวยงาม สอดคล้องกับจักรวาลในไตรภูมิที่ประกอบด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ นทีสีทันดร ทวีปทั้ง 4 กำแพงจักรวาล ปลาอานนท์ เป็นที่รองรับผลการกระทำของมนุษย์ เทวดา และนรก วัดสร้างใหม่กำหนดเขตการสร้างสถาปัตยกรรมให้มีเขตพุทธาวาส สังฆาวาส ธรรมาวาส ที่บริการสังคม และพื้นที่จิตวิญญาณ มีอาคารแหล่งเรียนรู้ที่มีส่วนทึบ ส่วนโปร่งแสง รับแสงตามคติกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ สำหรับบรรจุข้อมูลเอกสาร สื่อวีดีทัศน์ ห้องสัมมนา ห้องอบรม สร้างวิทยากรเกี่ยวกับภูมิสถาปัตยกรรม ส่วนแนวการอนุรักษ์นั้น ใช้แนวคิดนวัตกรรมที่สร้างใหม่ อนุญาตให้สร้าง หรือบูรณะปฏิสังขรณ์โดยเฉพาะการบูรณะซึ่งคำนึงถึงศิลปะที่งดงาม มีโครงสร้างและลักษณะของสถาปัตยกรรมที่แสดงจักรวาลวิทยาในไตรภูมิ มีแผน และนโยบายการอนุรักษ์และนวัตกรรมจากภาครัฐ นำสู่กระบวนการสร้างองค์ความรู้ในไตรภูมิ 3 ระดับ คือ ระดับประสาทสัมผัส (ข้อมูล) ระดับความรู้ มีเหตุผล และระดับปัญญาที่เป็นปัจจัยให้ดำรงชีวิตอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ถึงการพันทุกข์ในที่สุด |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/683 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2562-014 พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ.ดร.pdf | 6.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.