Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/682
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสะอาดเอี่ยม, ธนรัฐ-
dc.contributor.authorคุณวีโร, พระมหาเจริญสุข-
dc.contributor.authorวาทโกวิโท, พระปราโมทย์-
dc.contributor.authorปัญญาเอก, เกษศิรินทร์-
dc.date.accessioned2022-03-28T06:58:30Z-
dc.date.available2022-03-28T06:58:30Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/682-
dc.description.abstractรายงานการวิจัยนี้มี ๓ วัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสัมมาชีพใน พระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบในพระพุทธศาสนา (๓) เพื่อศึกษาคุณค่า เกี่ยวกับสัมมาชีพและความรับผิดชอบในพระพุทธศาสนา การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาข้อมูลขั้นปฐมภูมิ (Primary Sources) คือพระไตรปิฎก อรรถกถา ฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาบาลีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ ศึกษาข้อมูลขั้นทุติยภูมิ (Secondary Sources) ที่เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ตำราวิชาการ เอกสารวิชาการ และเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น และนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สัมมาชีพ คือ การดำรงชีพที่มีความบริสุทธิ์ทั้งกาย, วาจา และใจ โดยไม่ก่อให้เกิดความ เดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น พุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดสัมมาชีพประกอบด้วยหลักศีล ๕ หลักอิทธิบาท ๔ หลักจักร ๔ หลักอริยทรัพย์ ๗ และหลักมรรค ๘ การจัดการทรัพย์นั้นมี ๒ ส่วน คือ ๑) การจัดการทรัพย์ภายนอก ประกอบด้วยหลักการแสวงหาทรัพย์ หลักการบริหาร หลักการออม ทรัพย์ และหลักการใช้ทรัพย์ ๒) การจัดการทรัพย์ภายในคืออริยทรัพย์ ๗ เน้นปัญญาเป็นที่ตั้ง เป้าหมายของสัมมาชีพมี ๓ ระดับคือ ระดับบุคคล, ระดับสังคม และระดับขั้นสูงสุดคือการบรรลุพระ นิพพาน แนวคิดความรับผิดชอบในพระพุทธศาสนานั้นเริ่มต้นจากการบำเพ็ญพุทธกิจของ พระพุทธเจ้าทั้ง ๓ ด้าน และพุทธกิจ ๕ ที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญตลอด ๔๕ พรรษา เพื่อมุ่ง ประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขของมวลมนุษย์ ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระกิจที่บุคคลพึ่งปฏิบัติตาม หน้าที่ต่อบุคคลอื่น ทั้งภายในและภายนอกครอบครัว หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบ ประกอบด้วยหลักความกตัญญูกตเวที หลักพรหมวิหารธรรม หลักฆราวาสธรรม หลักสังคหวัตถุ หลักทิศ ๖ หลักสัปปุริสธรรม หลักอปริหานิยธรรม และหลักอารยวัฒิ คือ หลักของสังคมในอุดมคติ คุณค่าของสัมมาชีพและความรับผิดชอบตามหลักของพระพุทธศาสนามี ๕ อย่าง ได้แก่ (๑) คุณค่าในระดับปัจเจกบุคคล คือ บุคคลควรปฏิบัติตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ โดยงดเว้นจาก อบายมุข และตั้งตนอยู่ในหลักกุลจิรัฏฐิติธรรม (๒) คุณค่าต่อสถาบันครอบครัว แบ่งได้ ๔ ข้อ ได้แก่ ๑) คุณค่าในด้านมาตรการสร้างเศรษฐสมบัติของครอบครัว คือ ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ข ครอบครัวตามหลักทิศ ๖ ๒) คุณค่าในด้านการป้องกันความเสื่อมของครอบครัว คือ การปฏิบัติตาม หลักกุลจิรัฏฐิติธรรม ประกอบด้วยการแสวงหาของที่หาย, ซ่อมแซมของเก่า, รู้จักบริโภค และตั้งคนดีเป็นพ่อบ้านแม่เรือน ๓) คุณค่าในมาตรการด้านการบริหารโภคทรัพย์ของครอบครัว คือ ยกย่องบุคคลผู้มีคุณธรรมให้เป็นผู้นำครอบครัว ๔) คุณค่าในมาตรการ การแก้ไขปัญหาภายใน ครอบครัว คือ ป้องกันสมาชิกในครอบครัวจากอบายมุข ๖ (๓) คุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ คือ การนำ หลักสัมมาชีพเต็มพื้นที่มาเป็นเป้าหมายและดัชนีชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจ (๔) คุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม คือ รู้จักการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและดำเนินชีวิตภายใต้หน้าที่และความรับผิดชอบต่อทุกสรรพ สิ่ง และ (๕) คุณค่าด้านการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยี คือ เน้นการประดิษฐ์และการใช้เทคโนโลยีเพื่อ แก้ปัญหาและอนุรักษ์ธรรมชาติ ดังนั้น คุณค่าของสัมมาชีพและความรับผิดชอบตามแนวพระพุทธศาสนาจึงเป็นฐาน ความคิดให้กับองค์กรภาคธุรกิจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาen_US
dc.subjectแนวคิดen_US
dc.subjectสัมมาชีพen_US
dc.subjectความรับผิดชอบen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาen_US
dc.titleการศึกษาแนวคิดเรื่องสัมมาชีพ และความรับผิดชอบในพระพุทธศาสนาen_US
dc.title.alternativeA Study of the Concept of Right Livelihood and Responsibility as Depicted in Buddhist Textsen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-202ดร.ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.