Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/680
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ดร. (กล้า วีรรตโน), พระครูวาทีวรวัฒน์, | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-28T06:54:06Z | - |
dc.date.available | 2022-03-28T06:54:06Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/680 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการ คณะสงฆ์ (๒) วิเคราะห์สภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหาร กิจการคณะสงฆ์ และ (๓) วิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนากิจการคณะสงฆ์ไทยด้วยหลักสูตรประกาศนียบัตร การบริหารกิจการคณะสงฆ์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิง ปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการวิเคราะห์ เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ๑. ผลการประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ พบว่า (๑) เชิง คุณภาพ ได้แก่ ด้านบริบท พบว่า ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการ ของคณะสงฆ์ ชุมชนท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติ ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า รายวิชาครอบคลุม ภารกิจงานคณะสงฆ์ ๖ ด้าน และมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้มีมาตรฐานเทียบเท่าการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา แต่ยังขาดการกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิของอาจารย์ และผู้เรียนยังคงมีความ หลากหลายของช่วงวัยและพื้นฐานความรู้เดิม ด้านกระบวนการพบว่า บริหารหลักสูตรโดยเคร่งครัด ตามรายละเอียดของหลักสูตรที่อนุมัติโดยสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และด้าน ผลผลิต พบว่า บัณฑิตเป็นผู้มีคุณวุฒิ คุณภาพ และคุณธรรม มีศักยภาพในการทำงานเป็นทีม และ ทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่สนองงานคณะสงฆ์ (๒) เชิงปริมาณ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๔ และเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ดังนี้ ด้านบริบท มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๕ ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๐ ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๕ และด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๗ ๒. สภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการ คณะสงฆ์ พบว่า (๑) จุดแข็ง คือ ความพร้อมทางกายภาพของหน่วยงานในสังกัดมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยที่นำหลักสูตรไปเปิดสอน และมีพระสังฆาธิการระดับสูงที่มาช่วยสอนและเป็นแม่แบบที่ดีในทางปฏิบัติ (๒) จุดอ่อน คือ การจำกัดผู้เข้าศึกษาเฉพาะกลุ่มพระสังฆาธิการและครูสอนพระปริยัติ ธรรม และขาดการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาให้แก่ผู้เรียน (๓) โอกาส คือ กระแสความต้องการ ในการพัฒนาคุณวุฒิทางการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในปัจจุบัน และองค์กรคณะสงฆ์ให้การ สนับสนุน และ อุปสรรค คือ ทัศนคติในเชิงลบต่อหลักสูตรที่นอกเหนือจากการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีและแผนกธรรม และสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและวิทยาการสมัยใหม่ ๓. แนวโน้มการพัฒนากิจการคณะสงฆ์ไทยด้วยหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหาร กิจการคณะสงฆ์ พบว่า (๑) ด้านการปกครอง ได้แก่ ปรับปรุงสาระการเรียนรู้ของรายวิชาในหลักสูตร ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ และกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้อง และเพิ่มเติมวิชาเลือกที่มีสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาชุมชน (๒) ด้านการศาสน ศึกษา ได้แก่ ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรมฉบับปัจจุบัน และ เพิ่มเติมรายวิชาที่เป็นภาษาที่สามเพื่อรองรับการจัดการศาสนศึกษาแก่ศาสนิกชนที่มีความ หลากหลายด้านเชื้อชาติและภาษา (๓) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ได้แก่ ปรับปรุงสาระการเรียนรู้ที่ รองรับภารกิจด้านการศึกษาสงเคราะห์ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงไปโดยสอดคล้องกับแนวทางการ ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาด้านศึกษาสงเคราะห์ และเพิ่มเติมการเรียนรู้ภาคปฏิบัติการที่ส่งเสริม การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการจัดการศึกษาสงเคราะห์ในเชิงพื้นที่ (๔) ด้านการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ได้แก่ ปรับปรุงเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร สมัยใหม่และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเชิงรุก และเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ภาคปฏิบัติการที่บูรณา การร่วมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกตามบริบทของพื้นที่โดยสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูป กิจการพระพุทธศาสนาด้านเผยแผ่ (๕) ด้านการสาธารณูปการ ได้แก่ ปรับปรุงสาระการเรียนรู้เพื่อ รองรับการพัฒนาระบบสารสนเทศและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการจัดการศาสนสมบัติของวัดที่ สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาด้านสาธารณูปการ และเพิ่มเติมกิจกรรมนอก ชั้นเรียนหรือการศึกษาดูงานนอกสถานที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและมรดกภูมิปัญญาของไทย (๖) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ได้แก่ เพิ่มเติมสาระการเรียนรู้รายวิชาที่ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก สาธารณะหรือจิตอาสาแก่ชุมชนและสังคม และเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเครือข่ายสา ธารณสงเคราะห์ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาด้านสาธารณสงเคราะห์ และ (๗) ด้านการพัฒนาพุทธมณฑล ได้แก่ เพิ่มเติมสาระการเรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับพุทธอุทยาน ๓ มิติคือ อุทยานการศึกษา อุทยานการท่องเที่ยว และอุทยานศิลปวัฒนธรรม และสร้างกิจกรรมเสริม หลักสูตรที่เอื้อต่อการสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อเป็นฐานในการขับเคลื่อนภารกิจโดยสอดคล้อง กับแนวทางการพัฒนาพุทธมณฑลตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) | en_US |
dc.subject | ปัญหา | en_US |
dc.subject | อุปสรรค | en_US |
dc.subject | แนวโน้ม | en_US |
dc.subject | การพัฒนากิจการคณะสงฆ์ไทย | en_US |
dc.title | หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.): ปัญหา อุปสรรค และแนวโน้มเพื่อการพัฒนากิจการคณะสงฆ์ไทย | en_US |
dc.title.alternative | Certificate Program in Sangha Administration (Cert. in Sangha Admin): Problems Obstacles and Trends of Thailand Sangha Administration Development | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-094 พระครูวาทีวรวัฒน์, ดร..pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.