Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/679
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กนฺตวณฺโณ (กันจู), พระมหาจีรวัฒน์ ดร. | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-28T06:51:54Z | - |
dc.date.available | 2022-03-28T06:51:54Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/679 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาโครงสร้างของคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (๒) เพื่อวิเคราะห์ศีลและพรตที่ปรากฏในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรคตามหลักพระพุทธศาสนาและ (๓) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ ศีลและพรตในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคมให้ดีงามและสงบสุขยิ่งขึ้น การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ผลการศึกษาวิจัยมีดังนี้: ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีพระสูตร ๑๓ สูตร เกี่ยวด้วยศีลและพรต ที่กล่าวถึงโดยตรงได้แก่พรหมชาลสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกว่าด้วยศีล ๓ ขั้น จูฬศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ต่อจากนั้นกล่าวถึงลัทธิทรรศนะหรือทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งอาจสรุปลงเป็น ๒ คือสัสสตทิฏฐิ ทรรศนะว่าโลกเที่ยง และอุจเฉททิฏฐิ ทรรศนะว่าโลกขาดสูญ คือมีแค่โลกนี้ไม่มีโลกหน้า เมื่อทุกคนยึดถืออย่างนี้ย่อมนำไปสู่การบำเพ็ญศีลพรตตามความเชื่อของตน ไม่ว่าจะเป็นด้านอัตถกิลมถานุโยคหรือกามสุขัลลิกานุโยค ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ เป็นอาภรณ์ของนักบวช และเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาปสาทะของมหาชน พระพุทธเจ้าจึงทรงเข้มงวดเรื่องศีลมาตั้งแต่แรกเริ่มก่อนที่จะได้ทรงบัญญัติสิกขาบท ตามทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ศีล ๓ ระดับ จะเกี่ยวด้วยศีล ๕ และศีล ๘ ในเบื้องต้น และต่อมาครอบคลุมเรื่องอเนสนา คือ งดเว้นจากการแสวงหา หรือการประกอบอาชีพที่ไม่สมควรแก่สมณวิสัย เช่นการเป็นโหรทำนายทายทัก การประกอบพิธีกรรมนอกพระพุทธศาสนา การทรงเจ้าเข้าผี การประทุษร้ายผู้อื่นและหลอกลวงเขาหากิน เป็นต้น ก็เป็นไปเพื่อหลอกลวงชาวโลกทั้งสิ้น ในสังคมไทยปัจจุบัน เป็นที่ปรากฏอยู่เสมอว่ามีภิกษุสงฆ์ส่วนน้อยไม่เอื้อเฟื้อในพระธรรมวินัย ละเมิดศีลเป็นประจำ เที่ยวไปในสถานที่อโคจร ประกอบในอเนสนากรรม และมีส่วนเกี่ยวพันกับคดีอาญาเช่นการประทุษร้ายผู้อื่นและคดียาเสพติดอยู่เนือง ๆ เป็นที่ตำหนิติเตียนของชาวบ้านและสื่อมวลชน จากการสัมภาษณ์ท่านผู้ทรงคุณวุฒิทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ๑๕ ท่านทำให้ได้ข้อสรุปว่า เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ทุกระดับต้องเข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรในสังกัดของตนให้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีสมณสัญญา มีหิริโอตัปปะ ไม่ประพฤติอนาจารหรือการประกอบอเนสนากรรม ไม่ละเลยกิจวัตรของสงฆ์ เอื้อเฟื้อการศึกษาพระธรรมวินัย บำเพ็ญพรตกรรมฐานและธุดงควัตรตามกำลังความสามารถ ยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทาในการครองชีวิต ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การศึกษาโครงสร้างคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรคในแง่ของศีลและพรต | en_US |
dc.title.alternative | A Structural Study of Dighanikaya Silakhandhavagga in the Light of Rule and Ritual | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-254 พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ (กันจู), ดร.pdf | 6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.