Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/678
Title: การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ตามหลักศีล ๕
Other Titles: Human Quality Development according to the Five Precepts
Authors: โยธิโก, โยธิน
Keywords: การพัฒนา
คุณภาพมนุษย์
ศีล ๕
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และการพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์ ตามหลักศีล ๕ (๒) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์ของชุมชนต้นแบบตามหลักศีล ๕ จังหวัดชัยภูมิ (๓) เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายการพัฒนาชุมชนต้นแบบในการพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์ ตามหลักศีล ๕ จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลสาคัญที่ใช้ในการวิจัยคือ หน่วยงานราชการ พระสงฆ์ ผู้นา ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จานวน ๑๐๐ คน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิด ทฤษฎี และการพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์ตามหลักศีล ๕ ก็คือ กระบวนการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นระบบทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ตามหลักเบญจศีล (ไม่โหดร้าย ไม่ใจอยาก ไม่มากรัก ไม่ปากชั่ว ไม่มัวเมา) และเบญจธรรม (เมตตากรุณา สัมมาอาชีวะ กามสัญญ มะ สัจจวาจา สัมมาสติ) ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานในการพัฒนาภาวนา ๔ ด้าน คือ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา เพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของชีวิตคือ ความสุข อิสรภาพ ความดี ความงามของชีวิต กระบวนการพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์ของชุมชนต้นแบบตามหลักศีล ๕ จังหวัดชัยภูมิ ได้ดาเนินการผ่านกระบวนการทั้ง ๓ ด้าน คือ (๑) ด้านการพัฒนาชีวิตตามหลักศีล ๕ (๒) รูปแบบกิจกรรมการ พัฒนาชีวิตตามหลักศีล ๕ และ (๓) รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมงานของหน่วยอบรมประชาชนประจาตาบล โดย ใช้เครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕ งานบุญงานเหล้า งานเศร้า ปลอดหล้า ปลอดอบายมุข หมู่บ้านปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านชุมชนคุณธรรม ลานบุญลานธรรมวิถีไทย มูลนิธิธรรมดีได้ดี มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ในระดับองค์กร คือองค์กรของรัฐได้ร่วมกันจัดทาแผนงานและโครงการกิจกรรมทางศาสนาที่ยกระดับส่งเสริม คุณภาพชีวิตของมนุษย์ผ่านชุมชนด้วยกระบวนการทั้งหมดนั้น การสร้างเครือข่ายการพัฒนาชุมชนต้นแบบในการพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์ตามหลักศีล ๕ จังหวัดชัยภูมิ มีรูปแบบกิจกรรมและโครงการต่างๆ ทั้งภาครัฐและคณะสงฆ์ ได้มีส่วนสาคัญในการสร้างความ ร่วมมือ ความเข้าใจ และพัฒนาแนวคิดของชุมชน เพื่อส่งเสริมความเข้าใจให้ชุมชนตระหนักถึงอัตลักษณ์ และ สร้างความภูมิใจในชุมชนและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ โดยการจัดกิจกรรมทางศาสนา เป็นกระบวนการสร้าง เครือข่ายการทางานเพื่อนาไปสู่การขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในมิติของการอยู่ร่วมกัน ซึ่งจะต้องมีการ ประสานงานหลักเพื่อแก้ปัญหาและนามาซึ่งความต่อเนื่องและยั่งยืนของกิจกรรม มีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในระดับ ประชาชน คือ ประชาชนมีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทางศาสนาที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตในครอบครัว ได้มีส่วนสาคัญในการนาเด็กและเยาวชนได้สร้างแรงจูงใจในการสร้างเครือข่ายได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/678
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-114 พระมหาโยธิน โยธิโก.pdf10.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.