Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/672
Title: วัด ๙ ศรี: การท่องเที่ยวบนคติ ความเชื่อแห่งเส้นทางบุญในจังหวัดลำปาง
Other Titles: Nine Prosperity Temples: Traveling on Apocalypse the belief of the Merit Route in Lampang
Authors: ศรีปรัชยานนท์, สมจันทร์
พืชทองหลาง, ประทีป
Keywords: วัด ๙ ศรี
การท่องเที่ยวบนคติความเชื่อ
เส้นทางบุญ
จังหวัดลำปาง
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาคติ ความเชื่อ และเส้นทางบุญวัด ๙ ศรีใน จังหวัดลำปาง ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ความเชื่อและเส้นทางบุญวัด ๙ ศรีในจังหวัดลำปาง ๓) เพื่อ นำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวบนคติความเชื่อแห่งเส้นทางบุญของวัด ๙ ศรีในจังหวัดลำปาง โดย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และ ปฏิบัติการ โดยกลุ่มตัวอย่าง จากแบบสอบถามจำนวน ๔๐๐ คน จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๕๒ รูป/คน และการนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวผ่านสื่อมีเดีย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวบนคติและความเชื่อมุ่งเน้นให้เกิดคุณภาพชีวิตและจิตใจ สร้างสัมพันธ์อันดี งามระหว่างมนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังให้เกิดความดีงามในการปฏิบัติแก่ตนเองและผู้อื่น เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งนักท่องเที่ยวเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจจาก การศึกษาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ชอบท่องเที่ยวในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ประมาณเดือนละ ๑ ครั้ง และ เดินทางเป็นครอบครัวด้วยรถยนต์ส่วนตัว และค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง ๓-๕ พันบาท ปัจจัยที่ส่งผลต่อ นักท่องเที่ยว ได้แก่ ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สุภาษิตสอนใจและเส้นทางติดกับถนนสายหลัก ความสัมพันธ์ความเชื่อและเส้นทางบุญ แบ่งเป็น ๒ ประการ คือ ๑) เชิงหลักคำสอน เกิด จากความเชื่อ/ศรัทธา หลักธรรมเพื่อพัฒนากาย วาจา ใจ การต้อนรับของเจ้าบ้าน การมีน้ำใจไมตรี ความกตัญญูต่อวัฒนธรรมที่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชน ๒) เชิงเส้นทางการ ท่องเที่ยว ได้แก่ ความเชื่อและศรัทธา ความงามด้านศิลปกรรม การมีส่วนร่วมของชุมชน การ สนับสนุนจากกลุ่มภาคีเครือข่าย และการเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างสะดวกปลอดภัย เส้นทางการท่องเที่ยวของวัด ๙ ศรี จำแนกตามลักษณะ ได้แก่ ๑) เส้นทางเชิงความคติ/ ความเชื่อ ชาวล้านนาในอดีตได้สร้างค่านิยมและคตินิยมในการนับถือกราบไหว้พระธาตุประจำเมือง ๒) เส้นทางเชิงประวัติศาสตร์ล้านนา ๓) เส้นทางเชิงพุทธศิลปกรรม ๔) เส้นทางที่มีแหล่งท่องเที่ยว ใกล้เคียง ๕) เส้นทางการท่องเที่ยวเมืองศิลปะสร้างสรรค์ ดังนั้น การท่องเที่ยวตามคติ ความเชื่อเส้นทางแห่งบุญเชิงประวัติศาสตร์และพุทธ ศิลปกรรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การสร้างความ งดงามด้านสุนทรียภาพ การพัฒนาจิตใจ สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การเข้าถึงพื้นที่ได้ อย่างสะดวก ปลอดภัย เพื่อเป็นการท่องเที่ยวเมืองศิลปะเชิงศิลปะสร้างสรรค์ได้อย่างยั่งยืน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/672
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.