Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/671
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแหมทอง, พระมหาชุติภัค-
dc.contributor.authorวัฒนะประดิษฐ์, ขันทอง-
dc.contributor.authorพรหมกัลป์, อัครเดช-
dc.contributor.authorอารีกุล, ชนันภรณ์-
dc.contributor.authorบุญทอง, พีระศิลป์-
dc.contributor.authorสุปิยพันธุ์, บุณณดา-
dc.date.accessioned2022-03-27T05:02:54Z-
dc.date.available2022-03-27T05:02:54Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/671-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพบริบท วิถีการดาเนินชีวิตการอยู่รวมกันของชุมชนที่มีความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ๒) เพื่อนาเสนอรูปแบบการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อทางศาสนาในจังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา โดยมีพื้นที่การศึกษาคือชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช จานวน ๕ ชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสังเกต โดยมีผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน ๖๐ คน ผลการศึกษาพบว่า วิถีการดาเนินชีวิตการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่มีความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้ง ๕ ชุมชน ได้แก่ ชุมชนสี่แยกตลาดแขก ชุมชนโพธิ์เสด็จ ชุมชนปากพยิง ชุมชนบ้านในถุ้ง และชุมชนโมคลาน โดยแต่ละชุมชนมีสภาพบริบท วิถีการดาเนินชีวิต และลักษณะของการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ มีความเป็นพหุวัฒนธรรมที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข คนในชุมชนมีความรักสามัคคี เกื้อกูลแบ่งปัน และเข้าใจบริบทความเชื่อที่แตกต่างและให้เกียรติเคารพความเชื่อของแต่ละศาสนา รู้วิถีที่พึงปฏิบัติต่อกันที่ไม่ขัดต่อศาสนาและสร้างสัมพันธ์ในชุมชน และผ่านการสร้างสายสัมพันธ์จากรุ่นสู่รุ่น รูปแบบการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อทางศาสนา” ซึ่งประกอบด้วย ๔ ประกอบเรียกว่า PALC ได้แก่ ๑) กระบวนทัศน์พื้นฐานของชุมชน (Paradigms of Community) ได้แก่ ความคิด ความรู้สึกร่วมของคนในชุมชน ที่รู้สึกไม่แบ่งแยกจากกัน มีความรู้สึกของการเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่แบ่งศาสนา ๒) ผู้นาทางศาสนาและปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน (Leader and Local Wisdom Scholars) เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีคุณธรรม เป็นต้นแบบผู้มีคุณธรรมศีลธรรมที่ดีให้กับชุมชน ๓) กิจกรรมและการดาเนินชีวิตของคนในชุมชน (Activities and Lifestyles) กิจกรรมจิตอาสาเพื่อชุมชน อยู่บนพื้นฐานของหลักการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ได้แก่ (๑) การมีส่วนร่วมในการศึกษาปัญหาของชุมชน (๒) การมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมของชุมชน ข (๓) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมของชุมน (๔) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และ (๕) การมีส่วนร่วมในการประเมินผลกิจกรรมของชุมชน และ ๔) ปัญหาและการแก้ไขความขัดแย้งในชุมชน (Conflict Resolution) ชุมชนที่เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อทางศาสนาเป็นชุมชนที่คนในชุมชนมีความรักความสามัคคีกัน การให้ความเสมอภาค การเคารพในสิทธิ การให้เกียรติ การรักษาและปฏิบัติตามกฎกติกาที่ชุมชนร่วมวางไว้ ชุมชนใช้ “มรรควิธี” เป็นแนวทางหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectรูปแบบen_US
dc.subjectสังคมพหุวัฒนธรรมen_US
dc.titleรูปแบบการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อทางศาสนาen_US
dc.title.alternativeThe model of multicultural society with unconditional religion creatingen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-051พระมหาชุติภัค แหมทอง.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.