Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/670
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พรหมกัลป์, อัครเดช | - |
dc.contributor.author | พุ่มทุเรียน, สมคิด | - |
dc.contributor.author | เหนืออำนาจ, รัตติยา | - |
dc.contributor.author | สุนทรเดชา, จรูญศักดิ์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-27T04:59:51Z | - |
dc.date.available | 2022-03-27T04:59:51Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/670 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ความรู้และองค์ประกอบชุมชนสร้างสรรค์ “Smart Community” ของชุมชนในสังคมไทย 2. พัฒนาองค์ประกอบชุมชนสร้างสรรค์ “Smart Community” ของชุมชนในสังคมไทย และ 3. นำเสนอรูปแบบชุมชนสร้างสรรค์ “ Smart Community” ของชุมชนในสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาในเชิง เอกสาร ทำการทบทวนจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาวิเคราะห์ และ สังเคราะห์หาปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบชุมชนสร้างสรรค์ จำนวน 50 เรื่อง สัมภาษณ์ เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 50 รูปหรือคน เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนเพื่อนำไปพัฒนา องค์ประกอบชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 รูปหรือ คน เพื่อพัฒนาองค์ประกอบชุมชนสร้างสรรค์ในสังคมไทย และการประชาคมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลักในการคืนข้อมูลนำเสนอรูปแบบฯ และรับฟังข้อเสนอแนะในการนำเสนอรูปแบบชุมชน สร้างสรรค์ “Smart Community” ในสังคมไทยจากตัวแทนท้องที่ ตัวแทนท้องถิ่น นักวิชาการ ท้องถิ่นและปราชญ์ท้องถิ่น จำแนกตามพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย บริบทของชุมชนเมืองที่เทศบาล เมืองชุมแสง จำนวน 25 คน และบริบทชุมชนชนบทที่ชุมชนบ้านหนองกระดูกเนื้อ จำนวน 21 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 46 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบ ชุมชนสร้างสรรค์ “Smart Community” ของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ชุมชนสร้างสรรค์ “Smart Community” หมายถึง การพัฒนาหมู่บ้านชุมชนให้น่าอยู่ ทันสมัย ประชาชนอยู่ดี มีสุข อย่างยั่งยืน มีสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย ไม่มีอาชญากรรม และเป็นสังคมแหล่งการ เรียนรู้ องค์ประกอบชุมชนสร้างสรรค์ “Smart Community” ประกอบด้วย 5D คือ คนดี - Smart People วัฒนธรรมดี - Smart Culture สภาพแวดล้อมดี - Smart Ecology เศรษฐกิจดี - Smart Economy และภูมิปัญญาท้องถิ่นดี - Smart Technology และส่วนที่ 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนา ชุมชนเพื่อไปสู่ความเป็นชุมชนสร้างสรรค์ “Smart Community” - Smart 5D จะต้องประกอบไป ด้วยการขับเคลื่อนใน 3 ปัจจัยหลัก (IES) ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายใน (Internal Factors) เป็น ปัจจัยที่เกิดจากการพัฒนาภายในชุมชน ประกอบด้วย H+P+E+L ทุนมนุษย์ (Human Capital) การ มีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) ทุนเศรษฐกิจ (Economic Capital) และชุมชน ข แห่งการเรียนรู้ (Learning Community) 2) ปัจจัยภายนอก (External Factors) เป็นปัจจัยที่เกิด จากการพัฒนาภายนอกชุมชน ประกอบด้วย A + C + G ภาคีเครือข่าย (Alliance) การพัฒนาชุมชน หมู่บ้าน (Community Development) และการสนับสนุนจากภาครัฐ (Government Support) และ 3) ปัจจัยสนับสนุน (Support Factors) เป็นปัจจัยที่คอยส่งเสริมและเอื้อประโยชน์ต่อการ พัฒ น าชุม ช น ป ระก อ บ ด้ว ย C + C + C ก ารป ระส าน งาน (Coordination) ก ารสื่อ ส าร (Communication) และหลักการอยู่ร่วมกัน (สาราณียธรรม 6) (Coexistence) | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนา | en_US |
dc.subject | องค์ประกอบชุมชนสร้างสรรค์ | en_US |
dc.subject | Smart Community | en_US |
dc.title | การพัฒนาความรู้และองค์ประกอบชุมชนสร้างสรรค์ “Smart Community” ของชุมชนในสังคมไทย | en_US |
dc.title.alternative | The development of knowledge and community components of "Smart Community" for community in Thai society | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-050อัครเดช-พรหมกัลป์-Smart-Comm.pdf | 5.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.