Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/669
Title: | การเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์และการท่องเที่ยว ในกลุ่มจังหวัดล้านนา |
Other Titles: | Strengthening the Network of Urban Development Creative Arts Town and Tourism in Lanna |
Authors: | โชติปญฺโญ, พระมหาไกรสร ญาณิสฺสโร, พระนฤพันธ์ นริสฺสโร, พระมหาอรรถพล เหลืองพิทักษ์, ปิ่นปินัทธ์ |
Keywords: | การเสริมสร้าง เครือข่ายการพัฒนา เมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มจังหวัดล้านนา |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพเครือข่ายเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดล้านนา เพื่อพัฒนาสมรรถนะและกระบวนการเครือข่ายของเมือง ศิลปะเชิงสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดล้านนา และ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเสริมสร้าง เครือข่ายการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดล้านนา โดยผู้วิจัยได้ใช้ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative research ) และใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ (Interview) และ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ด้วยการลงพื้นที่สำรวจศักยภาพของเครือข่ายเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวใน กลุ่มจังหวัดล้านนา ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงของเครือข่ายการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัด ล้านนาโดยอาศัยศิลปะเชิงสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์และ การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพและสมรรถนะของเครือข่ายเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์และ การท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดล้านนา มีความเข้มแข็งและสามารถที่จะบริหารจัดการเครือข่ายได้อย่าง เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ความเข้มแข็งด้านบทบาทของแต่ละเครือข่ายต่างมีบทบาทในการ ดำเนินงานเครือข่ายเป็นของตนเองตามศักยภาพและสมรรถนะ ซึ่งบทบาทส่วนใหญ่จะเป็นในส่วนของ การทำงานร่วมกันของแต่ละเครือข่ายในลักษณะของการบูรณาการ การประสานความร่วมมือ และ การนำเอาศักยภาพของตนเองมาเป็นจุดร่วมสำคัญของการดำเนินการเครือข่าย นำไปสู่การพัฒนา สมรรถนะและกระบวนการเครือข่าย ได้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับสมรรถนะของแต่ละเครือข่าย เกิดการ เรียนรู้ร่วมกัน และสามารถที่จะพัฒนาสมรรถนะของตนเอง ตามหลัก(KAP) ได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และการปฏิบัติ (Practice) โดยความรู้ (Knowledge) เพื่อให้ สามารถดำเนินการร่วมกับเครือข่ายอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กระบวนการ ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมพัฒนา จึงเกิดการพัฒนานวัตกรรมการเสริมสร้างเครือข่าย ได้แก่นวัตกรรมสารสนเทศใน ของ ระบบฐานข้อมูลอิเลคทรอนิคส์เป็นเว็บไซต์ และนวัตกรรมทางสังคม ด้วยการขับเคลื่อนนโยบายและ ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างเครือข่ายเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดล้านนา |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/669 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-046พระมหาไกรสร โชติปญฺโญ,ผศ.ดร..pdf | 11.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.