Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/668
Title: | วัดงาม นามมงคล : นวัตกรรมการจัดการแหล่งท่องเที่ยววัดนามมงคล ตามแบบอารยสถาปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Beauty Auspicious Temple: Innovotion of Tourist Management of Auspicious Temples on Universal Desing in Chiang Mai Province |
Authors: | ปญฺาวชิโร, พระนคร ธีรภทฺโท, พระธีทัต พืชทองหลาง, ประทีป |
Keywords: | นวัตกรรม การจัดการแหล่งท่องเที่ยว วัดนามมงคล อารยสถาปัตย์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ สภาพการจัดการวัดแหล่งท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ และนวัตกรรมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และการปฏิบัติการภาคสนาม พื้นที่วิจัย คือวัดนามมงคล ๑๐ แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๓๑ รูป/คน ได้แก่ ตัวแทนพระสงฆ์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ และแนวทางการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑. วัดนามมงคลทั้ง ๑๐ แห่งมีศักยภาพสูงในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาเช่น พระพุทธรูปสำคัญ เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ โบราณสถาน และพุทธศิลปกรรมที่งดงาม บางแห่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองเดินทางสะดวก มีสิ่งให้บริการครบวงจร ส่วนวัดที่ตั้งอยู่นอกเมืองมีโบราณสถาน พุทธศาสนสถานที่สวยงาม และมีธรรมชาติร่มรื่น บรรยากาศที่เงียบสงบ ๒. วัดมีลักษณะสภาพที่ตั้งและบริบทการท่องเที่ยวแตกต่างกัน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์แตกต่างกันใน ๒ ลักษณะ ได้แก่ ๑. วัดที่ตั้งอยู่ในเขตเมือง ๔ วัด เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานและพุทธศิลปกรรมที่งดงาม มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพราะตั้งอยู่ในเขตเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางการให้บริการการท่องเที่ยวที่ครบวงจร ทั้งสถานที่พัก สถานที่รับประทานอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ให้บริการข้อมูลการท่องเที่ยว การคมนาคม การดูแลสุขภาพ การสื่อสาร และบริการด้านอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวก ๒. วัดที่ตั้งอยู่ในเขตชานเมือง จำนวน ๖ วัด เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานและพุทธศิลปกรรมที่งดงามเหมือนวัดที่ตั้งอยู่ในเขตเมือง แต่มีธรรมชาติที่ชุ่มชื่นเขียวขจี ทิวทัศน์ที่สวยงาม และบรรยากาศที่เงียบสงบ วัดแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในเขตชานเมืองบางวัดตั้งอยู่บนดอยหรือเชิงเขาที่มีพื้นที่ลาดชัน เช่น วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร นอกจากจะมีบันไดเดินขึ้นตามปกติ แล้วยังบันไดเลื่อน หรือลิฟต์สำหรับให้บริการแก่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ คนพิการ เด็ก ตลอดจนถึงผู้ที่ไม่สะดวกที่จะเดินขึ้นตามบันไดปกติ ๓. นวัตกรรมที่เกิดจากงานวิจัยเรื่องนี้ ได้แก่ ๑) คู่มือการจัดทำอารยสถาปัตย์สำหรับวัดแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ๒) ห้องน้ำปลอดภัยต้นแบบ สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และสตรี มีครรภ์ ๓) “Application เที่ยววัดงามนามมงคล เมืองเชียงใหม่ ปลอดภัย ได้บุญ” นวัตกรรมเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อวัด หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ นำไปปรับใช้เป็นแนวทางหรือเป็นแบบอย่างในการพัฒนาอารยสถาปัตย์ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับให้บริการแก่ประชาชนตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่อย่างเป็นสากล นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปย่อมได้ประโยชน์จากการใช้บริการที่สะดวก ปลอดภัย เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/668 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-047พระนคร ปญฺาวชิโร (ปรังฤทธิ์), ดร..pdf | 21.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.