Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/667
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรีปรัชยานนท์, สมจันทร์-
dc.date.accessioned2022-03-27T03:09:47Z-
dc.date.available2022-03-27T03:09:47Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/667-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อสำรวจพื้นที่ของวัดที่เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวแบบอารยสถาปัตย์ในภาคเหนือตอนบน ๒) เพื่อศึกษาและพัฒนาเส้นการท่องเที่ยวตามคติ ความเชื่อแห่งเส้นทางแห่งบุญของวัด ๙ ศรีในจังหวัดลำปางและรูปแบบการพัฒนาอารยสถาปัตย์ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามรอยครูบาเจ้าศรีวิไชย จังหวัดลำพูน ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบและ แอพพลิเคชั่นของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่สร้างสรรค์ตามแบบอารยสถาปัตย์ในภาคเหนือ ตอนบน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และปฏิบัติการ โดยกลุ่มตัวอย่าง จากแบบสอบถามจำนวน ๔๐๐ คน จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๗๖ รูป/คน และการนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวผ่านสื่อมีเดีย ผลการวิจัย พบว่า แหล่งท่องเที่ยวพื้นที่ที่มีชื่อเสียงในภาคเหนือตอนบน จำนวนพื้นที่ ๔๐ แห่ง มีความพร้อมบนทางเดิน/ราวบันได คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐% ห้องน้ำที่ได้มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๕๐% ลานจอดรถ คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐% และอุปกรรณ์ช่วยเหลือเบื้องต้น คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๕๐% การจัดการตามแบบอารยสถาปัตย์การสำรวจความเห็นของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ จากการศึกษาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ชอบท่องเที่ยวในวัน เสาร์-อาทิตย์ ประมาณเดือนละ ๑ ครั้ง และเดินทางเป็นครอบครัว ชอบทานอาหารพื้นเมือง ชอบ จับจ่ายทางด้านอาหาร/ขนม/เครื่องดื่ม เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ชอบพักค้างคืนในโรงแรม และ ค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง ๓-๕ พันบาท ปัจจัยด้านความสะดวกแบบอารยสถาปัตย์ ได้แก่ ทุกเพศทุกวัย สามารถเข้าถึงสถานที่สำคัญได้ กระบวนการสร้างสรรค์พื้นที่ตามแบบอารยสถาปัตย์ สามารถแบ่งได้ ๒ อย่าง ได้แก่ ๑) การจัดการแหล่งท่องเที่ยวดังเดิมที่มีความพร้อมทางด้านกายภาพ การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมของชุมชน การอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม ๒) การจัดการพื้นที่สร้างสรรค์ ๒ แห่ง ได้แก่ ๒.๑) การส่งเสริมการท่องเที่ยวบนคติ ความเชื่อและเส้นทางบุญของวัด ๙ ศรีในจังหวัดลำปาง ที่เกิดจากปัจจัยทางด้านความเชื่อ/ศรัทธา ความงดงามทางด้านพุทธศิลป์ การมีส่วนร่วมของ ข ชุมชน การสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย และการเข้าถึง/การตอบสนองนักท่องเที่ยว ๒.๒) การพัฒนา วัด ๙ ครูบาสร้าง จากการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงจารีตและวัฒนธรรม ท้องถิ่น เพื่อยกย่อง สรรเสริญ และเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณแก่ครูบาศรีวิไชย และนำเสนอ ผ่าน Application (Lanna The City of Creative Art) เพื่อให้ข้อมูล ข่าวสาร เส้นทาง กิจกรรมเชิง สร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและรวดเร็ว ดังนั้น รูปแบบการจัดการวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบอารยสถาปัตย์จะต้องมีการจัด กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากเที่ยวและมีส่วนร่วมกับพื้นที่สร้างสรรค์ โดยภาคี และชุมชนต้องสร้างความประทับใจทางด้านข้อมูลข่าวสารและการเข้าถึงได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และมีความพร้อมต่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย เพื่อยกระดับความเป็นมาตรฐานตามแบบ อารยสถาปัตย์อย่างแท้จริงen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectรูปแบบการจัดการen_US
dc.subjectวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวen_US
dc.subjectอารยสถาปัตย์en_US
dc.subjectภาคเหนือตอนบนen_US
dc.titleรูปแบบการจัดการวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ในภาคเหนือตอนบนen_US
dc.title.alternativeThe Management Model of Tourist Buddhist Temples on Friendly Design in Upper Northen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-047นายสมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์.pdf20.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.