Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/666
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสร้อยสงค์, สุวรรณี-
dc.date.accessioned2022-03-27T03:07:41Z-
dc.date.available2022-03-27T03:07:41Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/666-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมการป้องกันโรคและการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ ซึ่งรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบคำถามการประชุมกลุ่มย่อย แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมชุดความรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างคือ พระสงฆ์ที่จำวัดในอำเภอเมืองหรืออำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญเชิงคุณภาพ จำนวน 15 รูป และกลุ่มตัวอย่างทดสอบนวัตกรรมชุดความรู้ฯ จำนวน 30 รูป ผลการศึกษาจากการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร พบว่า โรคติดต่อไม่เรื้อรังที่พบบ่อยก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของพระสงฆ์ คือ โรคอ้วน/อ้วนลงพุง โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน สาเหตุสาเหตุเนื่องมาจาก มีดังนี้ 1) การบริโภคหรือฉันอาหาร 2) การออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกายน้อย 3) อารมณ์ตึงเครียด 4) อนามัยสิ่งแวดล้อมในวัดไม่ดีต่อสุขภาพ 5) ขาดการบูรณาด้านการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ การป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อลดการเกิด ข โรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้กับพระสงฆ์ มีดังนี้ 1) ถวายความรู้การดูแลสุขภาพ 2) จัดทำสื่อสุขภาพ 3) รณรงค์ให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้และตระหนักในการเลือกอาหารถวายพระสงฆ์ 4) ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัยภายในวัด 5) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ผลการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนตามกระบวนการวิจัย คือ ขั้นตอนที่ 1 ปัญหาและความต้องการของพระสงฆ์ในภาคเหนือเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่า 1) พระสงฆ์มีความรู้และพฤติกรรมการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยังไม่เหมาะสม 2) ขาดความตระหนักเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3) ญาติโยมยังขาดความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการถวายอาหารและน้ำปาณะต่อสุขภาพพระสงฆ์ และ 4) พระสงฆ์มีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อย 5) ต้องการรูปแบบการให้ความรู้ที่ทันสมัย กระชับและใช้ได้จริง 6) ต้องการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพของพระสงฆ์ ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนานวัตกรรม นวัตกรรมชุดความรู้มีองค์ประกอบเนื้อหา 4 ประการ ได้แก่ 1) สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 โรค คือ โรคอ้วน/อ้วนลงพุง โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิต และโรคเบาหวาน 3) การป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพใช้หลัก 3 อ 3 ส ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สติ สิ่งแวดล้อม และสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพ 4) แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ และคัดกรองความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้นวัตกรรม พบว่า หลังใช้นวัตกรรมฯ พระสงฆ์มีคะแนนความรู้การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิผลนวัตกรรม พบว่า พระสงฆ์มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมชุดความรู้ฯ อยู่ในระดับมาก สรุปได้ว่า นวัตกรรม ชุดความรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น ทำให้พระสงฆ์มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการป้องกันโรคและการเสริมสร้างสุขภาพ ดังนั้นควรนำนวัตกรรมชุดความรู้ ฯ ไปใช้กับพระสงฆ์ ประชาชนให้เกิดความรู้ และตระหนักเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectนวัตกรรมen_US
dc.subjectการป้องกันโรคและเสริมสร้างสุขภาพen_US
dc.subjectโรคไม่ติดต่อเรื้อรังen_US
dc.subjectภาคีเครือข่ายen_US
dc.subjectพระสงฆ์en_US
dc.titleองค์ความรู้และการพัฒนานวัตกรรมการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือen_US
dc.title.alternativeKnowledge and Developing Innovation of Preventing and Promoting the Health of Buddhist Monks Involving Non-Communicable Diseases Network’s Participation in the North of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-053ดร.สุวรรณี สร้อยสงค์.pdf7.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.