Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/665
Title: วัดครูบาสร้าง: รูปแบบการพัฒนาอารยสถาปัตย์ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ตามรอยครูบาเจ้าศรีวิไชย จังหวัดลำพูน
Other Titles: Construction Temple of Instructors: Development Model of Friendly Design on Tourist Temples tracking to Kruba Chao Srivichai Lamphun Province
Authors: ปัญโญ, อาภากร
พืชทองหลาง, ประทีป
Keywords: วัดครูบาสร้าง
รูปแบบการพัฒนา
อารยสถาปัตย์
วัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ครูบาเจ้าศรีวิไชย
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาศักยภาพของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๙ แห่งที่สร้างโดยครูบาเจ้าศรีวิไชยในจังหวัดลำพูน ๒) เพื่อศึกษามาตรฐานตามแบบอารยสถาปัตย์ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดลำพูน ๓) เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดลำพูน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสม ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ วัดที่ครูบาศรีวิไชยสร้าง ๙ แห่งในจังหวัดลำพูน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยว ๑,๐๐๐ คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง ๒๕ รูป/คน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย พระสงฆ์ สามเณร ผู้นำชุมชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวทั่วไป ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑. ความศรัทธาต่อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาของครูบาเจ้าศรีวิไชย คือ ศักยภาพสำคัญของการเดินทางมาสักการะและเที่ยวชมวัดที่ครูบาสร้างขึ้น ส่วนศักยภาพวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๙ แห่งใน ตามกรอบมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม (๕As) พบว่า ๑) สิ่งดึงดูดใจ วัดควรพัฒนาสร้างสิ่งดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวหรือมีลักษณะชวนตา ชวนใจ มีเสน่ห์เฉพาะตัวเพิ่มเติม เช่น การคงสถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะแบบพื้นเมืองของพระเจดีย์ กุฎิ ศาลา วิหาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเฉพาะแบบล้านนา เพิ่มเรื่องราว ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ คติธรรม คำกลอน หรือสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นต้น ๒) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดนามมงคลมีความสะดวกอยู่แล้ว สามารถเดินเท้า ปั่นจักยาน หรือเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะได้ แต่ควรเพิ่มบริเวณ หรือสถานที่จอด ป้ายบอกทาง หรือป้ายแสดงแผนที่หรือจุดหมายแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเห็นได้ในระยะไกล ๓) สิ่งอำนวยความสะดวก ควรปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำ ทางลาดสำหรับผู้พิการ ระบบสื่อสารต่างๆ เพื่อให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ๔) ที่พัก ปัจจุบันวัดหลายแห่งมีการบริการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการค้างคืน หรืออยู่ปฏิบัติธรรมด้วย ดังนั้น วัดควรมีการจัดบริการที่พักแรมภายในวัดสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะด้วย หรือควรสร้างที่นั่งพัก ศาลา สำหรับนั่งพักผ่อน ทำกิจกรรมหรือรับประทานอาหารเพิ่มเติม ข ๒. มาตรฐานตามแบบอารยสถาปัตย์ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดลำพูน มาตรฐานตามแบบอารยสถาปัตย์ของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ผลการสำรวจมาตรฐานตามแบบอารยสถาปัตย์ของวัดทั้ง ๙ แห่งพบว่า มีเพียงวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารเพียงแห่งเดียวที่ได้มาตรฐาน การพัฒนามาตรฐานอารยสถาปัตย์ของวัดอื่น ควรเน้น ๑) ความปลอดภัยทางกายภาพ จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอบริเวณบันไดและทางเข้า มีราวจับในห้องน้ำ พื้นกระเบื้องไม่เลื่อน อุปกรณ์ปิดเปิดหน้าและเปิดประตูที่ไม่ต้องออกแรงมาก มีสัญญาณฉุกเฉินจากหัวเตียงหรือห้องน้ำสำหรับเรียกขอความช่วยเหลือ ๒) สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีทางลาดสำหรับรถเข็น ความสูงของตู้ที่ผู้สูงอายุสามารถหยิบของได้สะดวกอยู่ใกล้แหล่งบริการต่างๆ ใกล้แหล่งชุมชนเดิม เพื่อให้ญาติมิตรสามารถเยี่ยมเยียนสะดวก ๓) สามารถสร้างแรงกระตุ้น การเลือกใช้สีที่เหมาะสมมีความสว่างและชัดเจนจะทำให้การใช้ชีวิตดูกระชุ่มกระชวย ไม่ซึมเศร้า และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กระตุ้นให้เกิดการนำความสามารถต่างๆ ของผู้สูงอายุมาใช้อย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ใช้ความสามารถก่อประโยชน์กับชุมชน ๔) ดูแลรักษาง่าย ควรออกแบบให้ดูแลรักษาง่ายเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยเหตุนี้ บ้านทั่วไปควรจะเล็ก ถ้าเป็นหลังใหญ่ควรจะมีห้องซึ่งง่ายต่อการปิดเอาไว้เพื่อสะดวกสบายในการดูแล บ้านอาจจะมีบานเลื่อนอลูมิเนียมป้องกันฝนและสนามหญ้าที่มีพุ่มไม้เตี้ยเพื่อลดงานสนาม ๓. รูปแบบการพัฒนาอารยสถาปัตย์ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามรอยครูบาเจ้าศรีวิไชยจังหวัดลำพูน เรียกว่า “รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ๕ ส.” เพื่อตอบโจทย์ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมที่ยังรักษาอัตลักษณ์ความเป็นวัดไว้ได้ คือ ๑) ส่งเสริมสติ ๒) สะอาด ๓) สุขสบาย ๔) สงบเย็นใจ และ ๕) สัปปายะ ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลสำคัญว่า แหล่งท่องเที่ยวของวัดบางแห่งยังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างถิ่นมากนัก แต่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น และเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนและของนักท่องเที่ยวต่อไป นวัตกรรมที่เกิดจากงานวิจัยนี้ คือ เว็บแอปพลิเคชันโดยใช้ภาษา php ,html, ซึ่งจะสามารถแสดงผลครอบคลุมอุปกรณ์มือถือ ไอแพด แทบเล็ต และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยเน้นไปที่อุปกรณ์มือถือซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน มีระบบแผนที่โดยใช้ google map “ตามรอยธรรมwww.tamroidham.com” สำหรับการออกแบบการแสดงผลใช้ bootstrap โดยคำนึงถึง user experience (UX) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันสามารถใช้ได้อย่างคล่องตัว
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/665
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-047อาภากร ปัญโญ.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.