Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/662
Title: | การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืน |
Other Titles: | Management of the Active Saving Groups for Sustainable Community Welfares |
Authors: | มั่นคง, ฐานิดา |
Keywords: | การบริหารจัดการ กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ สวัสดิการชุมชน เครือข่ายทางสังคม |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1 ) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน 2) เพื่อพัฒนาและยกระดับสวัสดิการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชน และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัย แบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มสัจจะ สะสมทรัพย์ที่ใช้ในการศึกษา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดท่าโสม กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดกันทร อมใต้ และกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดกันทรอมอุดม มีผู้ให้ข้อมูลหลัก อันประกอบด้วย พระสงฆ์ คณะกรรมการบริหารกลุ่มสัจจะฯ และสมาชิกกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 32 รูป/คน ผลการศึกษา พบว่า 1. รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการ มีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ร่วมระดมความคิดวิเคราะห์ 2) ร่วม กำหนดนโยบาย 3 ) ร่วมวางแผน 4) ร่วมตัดสินใจ และ 5) ร่วมประเมินผล 2. การพัฒนาและยกระดับ สวัสดิการของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ประกอบด้วย กระบวนการ 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1)) การสร้างผู้นำ การเปลี่ยนแปลง 2) การพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วม 3) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ร่วม 4). ชักจูงให้สมาชิกเข้าร่วม 5). การบริหารความขัดแย้ง 6) การประเมินผล 7) การจัดระบบงานที่ไม่ซับซ้อน 8) การสร้างแบบ แผนการทำงาน และ 3. รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 2) การ ประสานงานหน่วยงานกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่าย 3) การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน 4) กิจกรรมเชื่อม สัมพันธ์ 5) การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาที่ต่อยอดจากองค์ความรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ใหม่ที่พัฒนาขึ้น จากภายในชุมชน และภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มสัจจะสะสมทร้พย์ โดยเน้นบทบาทของ ชุมชนในการผลักดันการสร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้น โดยยึดหลักการเดิมของการตั้งกลุ่มเป็นสำคัญ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/662 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-023ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐานิดา มั่นคง.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.