Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/661
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสิริวฑฺฒโก, พระครูปลัดสุรวุฒิ-
dc.date.accessioned2022-03-27T02:53:14Z-
dc.date.available2022-03-27T02:53:14Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/661-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) วิเคราะห์กระบวนการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี (๒) ออกแบบแนวทางพัฒนานวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี (๓) สร้างสรรค์ต้นแบบนวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยข้อมูลสำคัญที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จากพระสงฆ์สังกัดวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี ผู้นำชุมชน/ผู้นำองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี และผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๓ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยพยายามรักษาสำนวนเดิมไว้ เพื่อใช้เป็นฐานคิดสำคัญในออกแบบและสร้างสรรค์ต้นแบบนวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน พร้อมทั้งนำไปทดสอบระดับภาคสนาม โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ อาสาสมัครจากชุมชนตลาดน้ำในพื้นที่จังหวัดราชบุรี จำนวน ๓๐ คน และวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานรายตัวชี้วัด ร่วมกับสถิติอ้างอิงเพื่อค้นหาความจริงจากการปฏิบัติงานตามรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า ๑. กระบวนการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า จุดแข็ง คือ มีพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ เป็นต้น, จุดอ่อน คือ เยาวชนในพื้นที่ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ เป็นต้น, โอกาส คือ รัฐบาลมีนโยบายให้การสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เป็นต้น, และอุปสรรค คือ ขาดการสนับสนุนบุคลากรภาครัฐที่มีทักษะในการปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เป็นต้น ข ๒. การออกแบบแนวทางพัฒนานวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า แนวทางพัฒนานวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ได้แก่ นวัตกรรมการจัดการแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก ที่มีลักษณะเป็นต้นแบบนวัตกรรมการจัดแสดงผลงานมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนคลองดำเนินสะดวก ณ พิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม โดยปรับใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อยกระดับการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีทางวัฒนธรรมดั้งเดิม แต่ยกระดับการจัดการหรือวิธีการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ นั่นเอง ๓. ต้นแบบนวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี คือ ต้นแบบนวัตกรรมการจัดแสดงผลงานมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนคลองดำเนินสะดวก ณ พิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นระบบ QR Code แบบครบวงจร ที่ลิงค์ไปยัง YouTube และเว็บไซต์ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติคลองดำเนินสะดวก วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนชาวคลอง และบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรม เสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ปลุกชีวิตพิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม ให้พลิกฟื้นขึ้นมาเป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ทั้งนี้ ผลการทดสอบระดับภาคสนามในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมการจัดแสดงผลงานมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนคลองดำเนินสะดวก พบว่า ผลการประเมินการปฏิบัติงานรายตัวชี้วัด ได้แก่ ผลการประเมินบริบท ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินกระบวนการ และผลการประเมินผลผลิต พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการen_US
dc.subjectมรดกทางวัฒนธรรมen_US
dc.subjectชุมชนตลาดน้ำen_US
dc.titleการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรีen_US
dc.title.alternativeCultural Heritage Management of the Floating-Market Community in Ratchaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.