Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/660
Title: | การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย |
Other Titles: | The Community’s Potential Development in Promoting Special Economic Zone’s Development in Nong Khai Province’s Border |
Authors: | อัตสาร, พระมหาสมเด็จ เกษานุช, สมพงษ์ |
Keywords: | การพัฒนา ศักยภาพชุมชน เขตเศรษฐกิจพิเศษ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพศักยภาพทั่วไปและความต้องการในการ พัฒนาศักยภาพของชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่จังหวัดหนองคาย ๒) ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย ๓) ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนที่สามารถส่งเสริมการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย และ 4) ศึกษาโมเดลการพัฒนาชุมชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย แบ่งการศึกษา ออกเป็น ๓ ระยะ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) โดยใช้ทั้ง วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แทนชุมชน จานวน ๔๘๓ คน ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน ๑๒ คน และผูทรงคุณวุฒิร่วมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จานวน ๑๒ คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (Description Method) ได้แก่ ค่าการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics Analysis) ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson Correlation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ผลการวิจัยพบว่า ๑. ศักยภาพทั่วไปของชุมชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยุ่ในระดับมาก (ร้อยละ 70.27) และเมื่อจาแนกเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก ที่สุด ๒ ด้าน คือ ด้านโครงสร้างชุมชนและผู้นาในชุมชน และด้านการบริหารจัดการ อยู่ในระดับ มาก ๒ ด้าน คือ ด้านเศรษกิจและกลุ่มอาชีพในชุมชน และด้านโครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในระดับปาน กลาง จานวน ๑ ด้าน คือ ด้านประเพณีวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยว และอยู่ในระดับต่า จานวน ๑ ด้าน คือ ด้านสังคมและองค์กรทางสังคม โดยประชาชนในพื้นที่มีความต้องการในการพัฒนา ข ศักยภาพของชุมชนเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = ๓.๙๖) ๒. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษในพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพชุมชน จานวน ๖ ปัจจัย ได้แก่ การรับรู้นโยบายและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โครงสร้างพื้นฐานในชุมชน การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ การบริหารจัดการภายในชุมชน ทรัพยากรทางเศรษฐกิจใน ชุมชน และทักษะอาชีพของคนในชุมชน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ๓. การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนที่สามารถส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย พบว่า ชุมชนมีศักยภาพด้านทักษะอาชีพในชุมชนรองรับการ พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อยู่ในระดับมาก มีศักยภาพด้านการเตรียมความพร้อมของชุมชน รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อยู่ในระดับปานกลาง และมีศักยภาพด้านกิจการ/ผลิตภัณฑ์ ชุมชนรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อยู่ในระดับต่า โดยชุมชนมีศักยภาพรองรับการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคายตามปัจจัยการวิเคราะห์ทั้ง ๖ ด้าน ๔. โมเดลการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย จานวน ๖ โมเดล ประกอบด้วย ๑) โมเดลการพัฒนาด้านการ บริหารจัดการภายในชุมชน จานวน ๖ แนวทางพัฒนา ๒) โมเดลการพัฒนาด้านทรัพยากรทาง เศรษฐกิจในชุมชน จานวน ๗ แนวทางพัฒนา ๓) โมเดลการพัฒนาด้านทักษะอาชีพของคนใน ชุมชน มีจานวน ๕ แนวทางพัฒนา ๔) โมเดลการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน จานวน ๔ แนวทางพัฒนา ๕) โมเดลการพัฒนาด้านการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ จานวน ๖ แนวทาง พัฒนา และ ๖) โมเดลการพัฒนาด้านการรับรู้นโยบายและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จานวน ๗ แนวทางพัฒนา |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/660 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-032พระมหาสมเด็จ อัตสาร, ผศ.ดร..pdf | 6.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.