Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/659
Title: | การพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี |
Other Titles: | The Development of Preserve Cultural Heritage Volunteer Network of the Floating-Market Community in Ratchaburi Province |
Authors: | -, พระครูวาทีวรวัฒน์ |
Keywords: | การพัฒนา เครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ชุมชนตลาดน้ำ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) วิเคราะห์สภาพการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี (๒) สร้างเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของสถาบันทางสังคม และ (๓) นำเสนอต้นแบบกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ อิงอาศัยข้อมูลสำคัญที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยพระสงฆ์สังกัดวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี ผู้นำชุมชน/ผู้นำองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี และผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี จากวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๓ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยพยายามรักษาสำนวนเดิมไว้ เพื่อใช้เป็นฐานคิดสำคัญในการออกแบบต้นแบบกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ อาสาสมัครเยาวชนจากชุมชนตลาดน้ำในพื้นที่จังหวัดราชบุรี จำนวน ๓๐ คน วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานรายตัวชี้วัด ร่วมกับสถิติอ้างอิงเพื่อค้นหาความจริงจากการปฏิบัติงานตามรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า ด้านมีส่วนร่วมในการวางแผน พบว่า มีเวทีประชาคมหรือช่องทางรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนงาน เป็นต้น, ด้านมีส่วนร่วมในการดำเนินการ พบว่า เน้นการใช้มรดกวัฒนธรรมชองชุมชนเป็นเครื่องมือสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เป็นต้น, ด้านมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามผล พบว่า เน้นข้อมูลป้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่และ ข นักท่องเที่ยวทั่วไป, และด้านมีส่วนร่วมในการปรับปรุง พบว่า ให้ความสำคัญกับกระบวนการปรับปรุงแก้ไขโดยเน้นการส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ๒. การสร้างเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า แนวทางการสร้างเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของสถาบันทางสังคม ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน มีลักษณะเป็นรูปแบบเครือข่าย “บวร” ประกอบด้วย บ-บ้าน ที่ประชาชนมีความเข้มแข็งและยอมรับความเปลี่ยนแปลง ว-วัด ที่มีพระสงฆ์เป็นผู้นำจิตวิญญาณของกลุ่มภาคี และ ร-ราชการและโรงเรียน มีองค์ความรู้และนวัตกรรมสำหรับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในเชิงสร้างสรรค์ ๓. ต้นแบบกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า ต้นแบบกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี เกิดจากความร่วมมือของภาคี “เครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์วัฒนวิถีชุมชนตลาดน้ำดำเนิน ฯ” ซึ่งมีกิจกรรมภาคปฏิบัติการรณรงค์การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยเน้นการเผยแพร่กฎหมายควรรู้สำหรับประชาชนชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี รวม ๒๒ ฉบับ ทั้งนี้ ผลการประเมินการปฏิบัติงานรายตัวชี้วัด พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากทุกด้าน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/659 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-034พระครูวาทีวรวัฒน์.pdf | 6.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.