Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/657
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.author-, พระราชวัลภาจารย์-
dc.contributor.authorชยทตฺโต, พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ-
dc.date.accessioned2022-03-27T02:45:02Z-
dc.date.available2022-03-27T02:45:02Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/657-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) วิเคราะห์กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี (๒) สังเคราะห์แนวทางการสร้างหลักสูตรภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี (๓) นำเสนอต้นแบบหลักสูตรการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยข้อมูลสำคัญที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จากพระสงฆ์สังกัดวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ/สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี ผู้นำชุมชนในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี และผู้บริโภค/นักท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ตามลักษณะการเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๓ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยพยายามรักษาสำนวนเดิมไว้ เพื่อใช้เป็นฐานคิดสำคัญในการวิเคราะห์และออกแบบต้นแบบหลักสูตรการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน พร้อมทั้งนำไปทดสอบระดับภาคสนาม โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ อาสาสมัครจากชุมชนตลาดน้ำในพื้นที่จังหวัดราชบุรี จำนวน ๓๐ คน วิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานรายตัวชี้วัด ร่วมกับสถิติอ้างอิงเพื่อค้นหาความจริงจากการปฏิบัติงานตามรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า ๑. กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า ด้านการสร้างจิตสำนึก พบว่า เยาวชนบางคนขาดจิตสำนึกทางสังคม เป็นต้น, ด้านการให้ความรู้ พบว่า ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องมือ เป็นต้น, ด้านการบริหารจัดการ พบว่า รัฐบาลมีนโยบายให้การสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เป็นต้น, ด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่าย พบว่า ยังขาด ข กระบวนการทำงานที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วน เป็นต้น, และ ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ พบว่า ได้รับอิทธิพลในเชิงบวกจากกระแสความนิยมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ๒. แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน พบว่า จำเป็นต้องสร้างหลักสูตรรองรับกระบวนการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชน ที่เกิดจากชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน และที่สำคัญต้องนำสู่กระบวนการภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยเริ่มต้นที่เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชุมชน ทั้งนี้ หลักสูตรดังกล่าวควรมีลักษณะเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ที่จัดทำขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมโดยสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีการดำรงชีวิต ศรัทธา และความเชื่อทางศาสนา ๓. ต้นแบบหลักสูตรการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชน คือ “ต้นแบบหลักสูตรภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก” ที่เชื่อมโยงความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เครือข่าย และทุนทางสังคม โดยมุ่งหมายผลลัพธ์ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมมีจิตสำนึกรักและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกในระดับจุลภาค มีจิตสาธารณะในการรักษามรดกวัฒนธรรมอันเป็นประโยชน์ในเชิงสาธารณะ ทั้งในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้หรือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้ภาควิชาการ ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรม หลักการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ตลาดน้ำดำเนินสะดวก และสาระการเรียนรู้ภาคปฏิบัติการ ได้แก่ การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก การออกแบบวิธีการพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวกเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้ “ต้นแบบหลักสูตรภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก” ตั้งอยู่บนพื้นฐานการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ยึดหลักการประชาธิปไตย และให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมและความคิดสร้างสรรค์en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectต้นแบบen_US
dc.subjectหลักสูตรen_US
dc.subjectการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะen_US
dc.titleต้นแบบหลักสูตรการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนen_US
dc.title.alternativeThe Model of Cultural Heritage Immunity and Protecting Public Interest Curriculumen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-034พระราชวัลภาจารย์.pdf11.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.