Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/656
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชยทตฺโต, พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ-
dc.date.accessioned2022-03-27T02:32:33Z-
dc.date.available2022-03-27T02:32:33Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/656-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) วิเคราะห์การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี (๒) วิเคราะห์การสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี (๓) วิเคราะห์การสร้างเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี และ (๔) พัฒนากระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยวิเคราะห์เนื้อหาจากกรณีศึกษาของโครงการย่อยทั้ง ๓ โครงการ และใช้การสนทนากลุ่มเฉพาะเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรองค์กรคณะสงฆ์ บุคลากรองค์กรภาครัฐ บุคลากรสถาบันการศึกษา ผู้นำชุมชน และผู้นำองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ตามลักษณะของการเป็นตัวแทนกลุ่มที่เหมาะสม จำนวน ๑๐ ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา เพื่อใช้เป็นฐานคิดสำคัญในออกแบบแนวทางพัฒนากระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พร้อมทั้งนำไปทดสอบระดับภาคสนาม โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ อาสาสมัครจากชุมชนตลาดน้ำในพื้นที่จังหวัดราชบุรี จำนวน ๓๐ คน และวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานรายตัวชี้วัด ร่วมกับสถิติอ้างอิงเพื่อค้นหาความจริงจากการปฏิบัติงานตามรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ๑. การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า ต้นแบบนวัตกรรมการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี คือ ต้นแบบนวัตกรรมการจัดแสดงผลงานมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนคลองดำเนินสะดวก ซึ่งมีลักษณะเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ยกระดับการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ พิพิธภัณฑ์วัดโชติทายการาม ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนคลองดำเนินสะดวก ที่ไม่แสวงหาผลกำไร ๒. การสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า ต้นแบบหลักสูตรการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ ข ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชน คือ ต้นแบบหลักสูตรภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะของชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก ซึ่งมีลักษณะเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่มุ่งหมายให้ผู้ผ่านการอบรมมีจิตสำนึกรักและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนอันเป็นประโยชน์ในเชิงสาธารณะ โดยมีรายละเอียดของหลักสูตรประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ภาควิชาการและภาคปฏิบัติการ บนพื้นฐานการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ยึดหลักการประชาธิปไตย และให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมและความคิดสร้างสรรค์ ๓. การสร้างเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า ต้นแบบเครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี คือ เครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์วัฒนวิถีชุมชนตลาดน้ำดำเนิน ฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ โดยมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเพื่อรณรงค์การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยเน้นการเผยแพร่กฎหมายควรรู้สำหรับประชาชนในพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ๔. การพัฒนากระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรี พบว่า มีลักษณะเป็นการพัฒนาปัจจัยนำเข้าของกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก โดยยกระดับความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมให้เป็นรูปแบบของเครือข่ายที่เป็นทางการ ระหว่าง (๑) อำเภอดำเนินสะดวก (๒) เทศบาลดำเนินสะดวก (๓) คณะสงฆ์อำเภอดำเนินสะดวก (๔) โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ (๕) ชมรมศิษย์เก่าวิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี (๖) ชมรมคนรักษ์ตลาดน้ำดำเนิน และ (๗) ชมรมวิถีคลองวิถีไทย ซึ่งได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “เครือข่ายจิตอาสาอนุรักษ์วัฒนวิถีชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก” การนี้ ภาคีเครือข่ายทั้ง ๗ ได้ร่วมกันออกแบบและผลิตวัตถุที่เป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ (Mascot) ที่แสดงความร่วมมือในการดำเนินงานสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์ พร้อมกันนี้ ยังได้สรรค์สร้างผลงานศิลปะ ๓ มิติ เพื่อสื่อเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนตลาดน้ำ ณ พื้นที่ต้นแบบวัฒนวิถีชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก ซึ่งอยู่บนเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตลาดน้ำดำเนินสะดวก จำนวน ๑ ชิ้นงาน อีกด้วย ทั้งนี้ ผลการทดสอบระดับภาคสนาม พบว่า ผลการประเมินการปฏิบัติงานรายตัวชี้วัด ได้แก่ ผลการประเมินบริบท ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินกระบวนการ และผลการประเมินผลผลิต พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระบวนการen_US
dc.subjectภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมen_US
dc.subjectชุมชนตลาดน้ำen_US
dc.titleกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้ำในจังหวัดราชบุรีen_US
dc.title.alternativeThe Cultural Heritage Immunity Process of the Floating-Market Community in Ratchaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-034พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ.pdf9.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.