Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/655
Title: การสร้างจิตสานึกเชิงพุทธในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ตามแนวชายแดนจังหวัดเลย
Other Titles: Creating Buddhist Consciousness Preventing and Monitoring Drug Problems along the Border Loei Province
Authors: ปภสฺสโร, พระมหาสุภวิชญ์
ใต้ศรีโคตร, พระครูใบฎีกาทวีศักดิ์
นวลน้อย, พัทธนันท์
คงทิพย์, เอกลักษณ์
สินนา, พระมหาสมศักดิ์
Keywords: การสร้างจิตสานึกเชิงพุทธ
การป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
ตามแนวชายแดน
จังหวัดเลย
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการสร้างจิตสานึกเชิงพุทธในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนจังหวัดเลย ๒) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างจิตสานึกเชิงพุทธในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนจังหวัดเลย และ ๓) เพื่อการสร้างจิตสานึกเชิงพุทธในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนจังหวัดเลย เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยมีขั้นตอนการศึกษา ๒ รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR: Participatory Action Research) ผลการวิจัย ๑. ในการวัดระดับความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติดของกลุ่มตัวอย่างในชุมชนจังหวัดเลย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ปานกลาง เนื่องจากการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นยังมีการประชาสัมพันธ์ยังมีน้อยอยู่ และระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดของประชาชนในชุมชนจังหวัดเลยของกลุ่มตัวอย่าง สามารถอธิบายได้ว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดของประชาชนในชุมชนจังหวัดเลยของกลุ่มตัวอย่างทั้ง ๓ ด้าน นั้น ในด้านการค้นหาปัญหา/สาเหตุและวางแผนดาเนินกิจกรรม มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด การมีส่วนร่วมจัดทาแผนงาน/โครงการในการป้องกันปัญหายาเสพติด และให้ชุมชนมีส่วนร่วมเสนอปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้เกิดกระแสต่อต้านสิ่งเสพติด การมีส่วนร่วมให้คาแนะนาปรึกษาผู้ปกครอง/เยาวชนที่ติดสิ่งเสพติด และมีส่วนร่วมชักชวนให้ประชาชนในชุมชนร่วมกิจกรรมแก้ไขปัญหายาเสพติด และในด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามผล ชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังให้ความรู้แก้ประชาชนในด้านมีส่วนร่วมติดตามความก้าวหน้าในการดาเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดของรัฐตามสื่อต่าง ๆ อีกทางหนึ่งด้วย ๒. การพัฒนากระบวนการสร้างจิตสานึกในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนจังหวัดเลย พบว่า ยาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติไม่สามารถแก้ไขให้บรรลุผลได้ ข ด้วยองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ต้องอาศัยการแก้ไขในมิติต่าง ๆ ทั้ง ๕ รั้วป้องกัน ให้แข็งแกร่ง สถาบันทางสังคมทุกระดับทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันโรงเรียน สถาบันศาสนา ต่างทาทาหน้าที่ของตนอย่างครบถ้วน ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันสร้างความรู้ความเข้าใจทัศนคติที่ดี ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์เท่าทันต่อเหตุการณ์ การพัฒนากระบวนการสร้างจิตสานึกในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนจังหวัดเลยในการศึกษาครั้งนี้ ต้องทาให้คนในพื้นที่เกิดความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสานึก โดยการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน นาปัญหาเข้ามาสู่การพิจารณาเพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องและแสวงหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป การดาเนินการดังกล่าวอาจทาได้ทั้งในลักษณะที่เป็นทางการ โดยมีการกาหนดหลักสูตรที่ชัดเจน หรือกระทาอย่างไม่ทางการในวงแคบ โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินงาน ๓. การสร้างจิตสานึกเชิงพุทธเพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาวของยาเสพติดตามแนวชายแดน โดยบูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับการดาเนินชีวิตที่เรียกว่า “สัมมาทิฎฐิ” ทิฏฐิ คือ ความเห็น ความเข้าใจ ความใฝ่นิยมที่ยึดถือต่างๆ ของคนเรามีอิทธิพลและมีบทบาทในการกาหนดวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแนวความคิดแบบมิจฉาทิฏฐิให้เปลี่ยนไปเป็นแนวความคิดที่ถูกต้องก็คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ นั่นเอง โดยผลการศึกษาในข้อนี้แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสานึกในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนจังหวัดเลยด้วยสัมมาทิฎฐิ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ทาการสะท้อนปัญหา/ผลกระทบ ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน จากการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ ๒ การประเมินการพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสานึกในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนจังหวัดเลยด้วยสัมมาทิฎฐิ ขั้นตอนที่ ๓ ผลการใช้ชุดกิจกรรม พบว่า จิตสานึกในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมกิจกรรม ในภาพรวมมีระดับจิตสานึกในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดสูงมาก
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/655
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-027-พระมหาสุภวิชญ์-ปภสฺสโร.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.