Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/654
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวาทโกวิโท, พระปราโมทย์-
dc.contributor.authorวชิรปญฺโญ, พระครูปลัดอดิศักดิ์-
dc.contributor.authorวุฑฺฒิวํโส, พระครูสมุห์สนิทวงศ์-
dc.contributor.authorชาครธมฺโม, พระวีระพจน์-
dc.contributor.authorวัฒนะประดิษฐ์, ขันทอง-
dc.date.accessioned2022-03-26T08:58:36Z-
dc.date.available2022-03-26T08:58:36Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/654-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสันติสุขในชุมชน ๒) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขในชุมชน ๓) เพื่อนำเสนอผลการพัฒนาสมรรถนะผู้นำด้วยรูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยมีพื้นที่การศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย๓ โครงการย่อย เครื่องมือที่ใช้คือการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจาก ๓ โครงการย่อย วิเคราะห์สรุปผลเนื้อหาแบบอุปนัย โดยผลการศึกษาสรุปผลได้ ดังนี้ ๑) องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะของผู้นำสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสันติสุขในชุมชน พบว่า มี ๑๓ องค์ประกอบ ๕๖ ตัวชี้วัด ได้แก่ (๑) ด้านจิตภาพ มี ๗ (๒) ด้านกายภาพ มี ๓ ตัวชี้วัด (๓) ด้านสังคมภาพ มี ๒ ตัวชี้วัด ๔) ด้านปัญญาภาพ มี ๖ ตัวชี้วัด (๕) ด้านอุดมการณ์ มี ๕ ตัวชี้วัด (๖) ด้านวิสัยทัศน์ มี ๕ ตัวชี้วัด (๗) ด้านการประพฤติปฏิบัติตน มี ๓ ตัวชี้วัด (๘) ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ชุมชน มี ๓ ตัวชี้วัด (๙) ด้านการจัดการความขัดแย้ง มี ๓ ตัวชี้วัด (๑๐) ด้านการสื่อสารอย่างสันติ มี ๕ ตัวชี้วัด (๑๑) ด้านการสร้างความร่วมมือและกำหนดจุดหมายร่วมกันของชุมชน มี ๖ ตัวชี้วัด (๑๒) ด้านพลังเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี ๔ ตัวชี้วัด (๑๓) ด้านการสร้างเครือข่าย มี ๔ ตัวชี้วัด ๒) การพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขในชุมชน ประกอบด้วย ตามปรัชญาหลักสูตรวิศวกรสันติภาพท้องถิ่น เนื้อหาหลักสูตรมีการอบรมต่อเนื่อง ๓ วัน รวม ๒๐ ชั่วโมง มี ๕ Module + ๑ Pre-Module และ Module 6 เป็นระยะติดตาม ๑ ครั้ง การอบรม ๒๐ ชั่วโมง ประกอบด้วย Pre-Module เปิดใจ ขยายพื้นที่สันติ ข ภายใน (๓ ชม.) Module 1 จุดพลังความคิดสู่วิถีสันติวัฒนธรรม (๓ ชม.) Module 2 สื่อสารสร้างพลังสันติวัฒนธรรม (๔ ชม.)Module 3 การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ (๓ ชม.) Module 4 ชุมชนเรียนรู้สันติวัฒนธรรม (๓ ชม.) Module 5 พี่ประคองน้องสร้างสันติสุขในชุมชน (๔ ชม.) Module 6 ถอดรหัสสันติวัฒนธรรมนำสู่ความยั่งยืน (๑ เดือน) ๓) การพัฒนาสมรรถนะผู้นำด้วยรูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนสันติสุข ก่อนทดลองใช้หลักสูตรอบรมระหว่างก่อนทดลองและหลังทดลองทั้งกลุ่มผู้นำท้องถิ่น ต.บึงน้ำรักษ์ จังหวัดปทุมธานีและ ตำบล บ้านป้อม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ รูปแบบกิจกรรมต่างในหลักสูตรสามารถพัฒนาสมรรถนะผู้นำและสร้างผู้นำให้เป็นวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่มีสมรรถนะ ๕ ด้าน ได้แก่ ๑) การสร้างการมีส่วนร่วมให้ชุมชนได้เรียนรู้พัฒนาบนวิถีสันติวัฒนธรรม ๒) การสื่อสารสร้างสันติและจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ๓) การปฏิบัติตนเป็นต้นแบบมุ่งสู่วิถีแห่งสันติ ๔) จิตตระหนักรู้วิถีสันติภายในตน ๕) มีอุดมการณ์นำพาชุมชนเข้าถึงหัวใจแห่งสันติวิถี เกิดวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่พลังในการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุขสะท้อนจากการทำโครงการพัฒนาชุมชนที่นำเสนอกองทุนยุติธรรมชุมชน ๓ โครงการต่อกลุ่มผู้เข้าอบรม ผู้เข้าอบรมมีความประทับใจและนำไปใช้การพัฒนาตน ขยายผลและสร้างสรรค์ชุมชนแห่งสันติสุข ๔) รูปแบบองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการชุดวิจัย โครงการย่อย ๑ ได้โมเดลคุณลักษณะผู้นำสันติภาพ ประกอบด้วยสันติภายใน (Inner Peace) และสันติภายนอก (Outer Peace) โครงการย่อย ๒ ได้โมเดล PDCA เพื่อพัฒนาหลักสูตร ๔ ขั้น P-The Paradigm of Local Peace Engineer คือ กระบวนทัศน์วิศวกรสันติภาพท้องถิ่น D-Design Thinking คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ C-Check and evaluate by the professional learning community คือ ตรวจสอบและประเมินผลด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ A-Awaken of Local Peace Engineer เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนาหลักสูตรคือ การนำหลักสูตรไปทดลองใช้บนฐานที่มองเห็นปัจจัยความสำเร็จ และโครงการย่อย ๓ ได้โมเดล สามพลังพัฒนาวิศวกรสันติภาพท้องถิ่น” ประกอบด้วย พลังที่ ๑ (M-C-W) : ๓ หลักการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตามหลักไตรสิกขา สัญลักษณ์วิศวกรสันติภาพ ประกอบด้วย วงเกียร์ ๘ หมายถึง หลักพัฒนาตนด้วยมรรคมีองค์ ๘ นกพิราบ หมายถึง ผู้นำเป็นวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่นำพาตนเองไปรับใช้ช่วยเหลือสังคมผู้นำต้นแบบสันติภาพ พลังที่ ๒ 5’s C+1 C :พลังแห่งการเสริมสร้างสมรรถนะด้วยโคชกัลยาณมิตร ด้วย (Competency) หมายถึง สมรรถนะของการเป็นวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ต้องได้รับการพัฒนาเสริมพลัง ประกอบด้วย CP: Creating a Participatory community code of conduct คือ การสร้างข้อปฏิบัติชุมชนอย่างมีส่วนร่วม CI : Creating to Inner Peace คือ การสร้างการเข้าถึงสุขแท้ การปรารถนาดีต่อเพื่อน ค มนุษย์ด้วยความเข้าอกเข้าใจเห็นใจ CC: Create a communication for Peace คือ สร้างสรรค์การสื่อสารสันติภาพ CT: Create systematic thinking design คือ สร้างการคิดวิเคราะห์เป็นระบบ ประกอบด้วยเหตุผล เห็นความเชื่อมโยงและสร้างสรรค์ CM: Create mentoring to solve problems with intelligence คือ สร้างการเป็นพี่เลี้ยงในการแก้ปัญหาด้วยปัญญา CK: Coaching of the Kalyanamitta คือ การประสานใจเชื่อมความรักในการเรียนรู้และพัฒนาจากการโค้ชของกัลยาณมิตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ พลังที่ ๓ ด้วย ๖ ก้าวย่างแห่งการเรียนรู้สันติกระบวนทัศน์ด้วยสติ ๖ ขั้นตอนen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นen_US
dc.subjectวิศวกรสันติภาพen_US
dc.subjectสันติสุขในชุมชนen_US
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขในชุมชนen_US
dc.title.alternativeThe Development of Curriculum for Enhancing the Local Leader Competencies in Becoming Peace Engineer for Building Peace in the Communitiesen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-016พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร..pdf17.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.