Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/651
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สงกาผัน, ศตวรรษ | - |
dc.contributor.author | บุญรัตน์, สามารถ | - |
dc.contributor.author | ชุมพวง, วรรณพร | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-26T08:50:07Z | - |
dc.date.available | 2022-03-26T08:50:07Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/651 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “การอนุรักษ์และการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนเลี้ยงโคในจังหวัดเลย” ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการได้แก่ ๑. เพื่อศึกษาประวัติ ความเป็นมา และกระบวนการเลี้ยงโคพื้นเมืองในจังหวัดเลย ๒. เพื่อศึกษานโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาการเลี้ยงโคพื้นเมืองในจังหวัดเลย ๓. เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์และการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนเลี้ยงโคพื้นเมืองในจังหวัดเลย โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ ได้แก่ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย แนวคิดเกี่ยวกับการเลี้ยงโคพื้นเมืองของไทย เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่น ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น กระบวนการอนุรักษ์ทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย บทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่น ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การเลี้ยงโคพื้นเมืองของเกษตรกรในจังหวัดเลยเป็นแบบเกษตรกรรายย่อย โรงเรือนอยู่บริเวณเดียวกันกับที่อยู่อาศัย และแรงงานเป็นสมาชิกในครอบครัว ส่วนการเลี้ยงโค ที่เป็นฟาร์มมาตรฐานขนาดใหญ่ มีจำนวนน้อย ด้านการตลาด เกษตรกรจะจำหน่ายโคผ่านพ่อค้าคนกลางหรือนำเข้าไปจำหน่ายในตลาดนัดโค ซึ่งในพื้นที่จังหวัดเลย มีตลาดนัดโค กระบือ จำนวน ๒ แห่ง ที่อำเภอเมืองเลย และอำเภอหนองหิน การเลี้ยงโคพื้นเมือง ของเกษตรกรในจังหวัดเลยมีการเลี้ยงในพื้นที่ ๔ อำเภอ คือ อำเภอเมืองเลย อำเภอเอราวัณ อำเภอเชียงคาน และอำเภอวังสะพุง พันธ์โคพื้นเมืองที่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดเลย ส่วนใหญ่เป็นพันธ์ลูกผสม ด้านการตลาดในพื้นที่จังหวัดเลย มีสถานที่รับซื้อน้ำนมดิบ ๒ แห่ง คือ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคพื้นเมืองในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดเลย และสหกรณ์การเกษตรเมืองเลยจำกัด | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การอนุรักษ์ | en_US |
dc.subject | การสืบทอด | en_US |
dc.subject | ภูมิปัญญาท้องถิ่น | en_US |
dc.subject | คนเลี้ยงโค | en_US |
dc.subject | จังหวัดเลย | en_US |
dc.title | การอนุรักษ์และการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนเลี้ยงโคในจังหวัดเลย | en_US |
dc.title.alternative | Conservation and local wisdom of sister cattle in the Loei Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-120 นายศตวรรษ สงกาผัน.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.