Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/648
Title: | สัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา : การสังเคราะห์คติธรรมและความเชื่อสู่การสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของวัดในจังหวัดพิจิตร |
Other Titles: | The Animal Symbol of Buddhism : Synthesis of Buddhist Morality and Believe to Create Buddhist Art of Temple in Phichit |
Authors: | ปทุมทา, ชัยภัทร -, พระครูพิพัฒน์สุตคุณ เขมจาโร, พระปลัดทัศนพล ฉาวชาวนา, กวีภัทร ไชยชนะ, นพวรรณ์ |
Keywords: | สัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา คติธรรมและความเชื่อ พุทธศิลปกรรมของวัด |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาวิเคราะห์คติธรรมและความเชื่อของสัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ๒) สังเคราะห์คติธรรมและความเชื่อของสัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพุทธศิลปกรรมในจังหวัดพิจิตร ๓) การออกแบบสัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนากับการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของวัดในจังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสาคัญเลือกแบบเจาะจงจานวน ๒๑ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผลการศึกษาวิเคราะห์คติธรรมและความเชื่อของสัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาบริบทพื้นที่วิจัย ๗ วัด ๑) วัดโรงช้าง ตาบลโรงช้าง อาเภอเมืองพิจิตร สัตว์สัญลักษณ์ ที่พบได้แก่ สัตว์ป่าหิมพานต์ ตระกูลสิงห์ เสือ นก ช้าง ๒) วัดหัวดง ตาบลหัวดง อาเภอเมืองพิจิตร สัตว์สัญลักษณ์ ที่พบได้แก่ สัตว์ป่าหิมพานต์ ตระกูลมอม ครุฑ เป็นโบสถ์เก่าอายุกว่า ๑๐๐ ปี ๓) วัดหนองเต่า ตาบลภูมิ อาเภอบางมูลนาก สัตว์สัญลักษณ์ ที่พบได้แก่ สัตว์ จระเข้ ช้าง ม้า ปู ปลา สัตว์ป่าหิมพานต์ ตระกูลพญานาค สิงห์ เป็นโบสถ์เก่าอายุกว่า ๑๐๐ ปี ๔) วัดห้วยเขน ตาบลห้วยเขน อาเภอบางมูลนาก สัตว์สัญลักษณ์ ที่พบได้แก่ สัตว์ ช้าง สัตว์ป่าหิมพานต์ ตระกูลสิงห์ มอม เป็นโบสถ์เก่าอายุกว่า ๑๐๐ ปี ๕) วัดวังกลม ตาบลบ้านบุ่ง อาเภอเมืองพิจิตร สัตว์สัญลักษณ์ ที่พบได้แก่ สัตว์ป่าหิมพานต์ ตระกูลสิงห์ เสือ นก ช้าง ๖) วัดเทวประสาท ตาบลตะพานหิน อาเภอตะพานหิน สัตว์สัญลักษณ์ ที่พบได้แก่ สัตว์ป่าหิมพานต์ ตระกูลสิงห์ เสือ นก ช้าง ๗) วัดไผ่ท่าโพธิ์ใต้ ตาบลไผ่ท่าโพ อาเภอโพธิ์ประทับช้างสัตว์สัญลักษณ์ ที่พบได้แก่ สัตว์ป่าหิมพานต์ ตระกูลสิงห์ เสือ นก ช้าง ๒) ผลการสังเคราะห์คติธรรมและ ข ความเชื่อของสัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพุทธศิลปกรรมในจังหวัดพิจิตรตัวมอมว่า เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์เป็นอารักษ์ปกป้องวัดและมีหน้าที่ เฝ้าพิทักษ์ หรืออารักษ์ประตู หน้าโบสถ์ วิหาร ซุ้มโขง เป็นต้น ในด้านของพิธีกรรมการแห่ขอฝน ในอดีตนั้น ชาวบ้าน มีการใช้ตัวมอม เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมแห่ขอฝนความเชื่อซึ่งทาให้มนุษย์มีความหวังในการดาเนินชีวิตประจาวัน ในปัจจุบัน ตลอดถึงความหวังของชีวิตในอนาคต และสัมปรายภพด้วย ความเชื่อของมนุษย์นั้นมีความผูกพันอยู่กับลัทธิ และศาสนาเป็นสาคัญ มนุษย์มีความเชื่อในสิ่งต่างๆ พร้อมไปกับความเชื่อในเรื่องศีลธรรมด้วย ๓) ผลการการออกแบบสัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนากับการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของวัดในจังหวัดพิจิตรการออกแบบสัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนากับการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของวัดในจังหวัดพิจิตรพบว่าพุทธศิลป์: ส่วนมากสร้างในวัดพุทธศิลป์ส่วนมากสร้างขึ้นในปริมณฑลของวัดเพราะศิลป์หรือช่างจะแสดงเจตจานงในการเนรมิตศิลปกรรมด้วยพลังศรัทธาและเป็นพุทธบูชาเป็นต้น เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนศิลปะเช่นพระวิหารพระเจดีย์พระปรางค์หอไตรศาลาใบเสมาและประติมากรรมอาทิพระพุทธรูปและภาพจิตรกรรมซึ่งเป็นพุทธศิลป์ฝาผนังที่วาดไว้ในพระอุโบสถในพระวิหารพุทธศิลป์จึงเปรียบเสมือนเป็นสื่อนาในการรับรู้ความเข้าใจในหลักธรรมให้มีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศลพระพุทธรูปจึงถูกสร้างสรรค์ออกมาเมื่อมองพิศแล้วให้เกิดความรู้สึกอิ่มเอมมีปีติยินดีเป็นสุขใบเสมาอยู่คู่กับวัดวัดมีใบเสมาเพราะใบเสมาเป็นหลักเขตหรือสิทธิ์เป็นเขตกาหนดเป็นที่ร่วมกระทาสังฆกรรมของพระสงฆ์ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/648 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-058ชัยภัทร-ปทุมทา.pdf | 7.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.