Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/647
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระสุธีรัตนบัณฑิต-
dc.date.accessioned2022-03-26T08:39:47Z-
dc.date.available2022-03-26T08:39:47Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/647-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๖ ประการ คือ ๑) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ศิลปะ พื้นบ้านและพุทธศิลปกรรมในล้านนา ๒) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการอนุรักษ์ศิลปะของวัดและ ชุมชนในล้านนา ๓) เพื่อพัฒนาพื้นที่ศิลปะของวัดและชุมชนในล้านนา ๔) เพื่อพัฒนาเส้นทางการ ท่องเที่ยวเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา ๕) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาเมืองศิลปะเชิง สร้างสรรค์ในล้านนา ๖) เพื่อวิเคราะห์และนาเสนอรูปแบบการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ของ ล้านนา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากวัดและ ชุมชนที่เป็นต้นแบบศิลปกรรม และการรวบรวมองค์ความรู้พุทธศิลปกรรมในล้านนา จากนั้น ดาเนินการออกแบบและพัฒนาศิลปะเชิงสร้างสรรค์ใน 9 พื้นที่ 8 จังหวัด โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ๔๐๐ รายและผู้ให้ข้อมูลสาคัญจานวน ๖๕ ราย ผลการศึกษาพบว่า ๑. องค์ความรู้ศิลปะพื้นบ้านและพุทธศิลปกรรมในล้านนานั้น มีความเป็นมาที่ยาวนานโดย ปรากฎในชุมชนอันเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณ เช่น แหล่งโบราณคดีถ้าน้าลอด ถ้าผีแมน อาเภอปาง มะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน แหล่งโบราณคดีดอยเวียง – ดอยวง อาเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย แหล่ง โบราณคดีผาคันนา อาเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งโบราณคดีเวียงบัว อาเภอเมือง จังหวัด พะเยา เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นศิลปะที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต สัตว์เลี้ยงและกิจกรรมของคนในยุค โบราณ ต่อมาได้มีพัฒนาการเป็นศิลปะของชุมชนล้านนาเอง ส่วนพุทธศิลปกรรมนั้นหลังจากที่ได้ ก่อตั้งอาณาจักรล้านนาที่เชียงใหม่ ลาพูน อย่างมั่นคงแล้วจึงได้มีการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมที่มี เอกลักษณ์ของตนเองทั้งในด้านสถาปัตยกรรมกรรม ประติมากรรม และจิตกรรม รวมทั้งเครื่อง สักการะในล้านนา จนกลายเป็นต้นแบบของการสร้างพุทธศิลป์ในยุคต่อมา เช่น พระพุทธรูปสิงห์หนึ่ง พระสิงห์สองและพระสิงห์สาม เป็นต้น ซึ่งมีความสวยงามควบคู่กับสถาปัตยกรรมของล้านนา ๒. วัดและชุมชนในล้านนาได้มีการส่งเสริมการเรียนรู้และการอนุรักษ์ศิลปะของวัดและ ชุมชนอย่างต่อเนื่องผ่านสกุลช่างในเมือง เช่น เชียงใหม่ ลาพูน เชียงราย และน่าน เป็นต้น และผ่าน ศิลปินพื้นบ้านหรือที่เรียกว่า “สล่า” ในการสร้างสรรค์ผลงานจนทาให้ล้านนาได้รับการยอมรับว่า เป็น กลุ่มจังหวัดที่มีความสวยงามด้านศิลปะและวัฒนธรรม ๓. ในการพัฒนาพื้นที่ศิลปะของวัดและชุมชนในล้านนา คณะผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะร่วมสมัยที่สอดคล้องกับศิลปะดั่งเดิม โดยมีแนวคิด คือ การพัฒนาและสร้างผลงานศิลปะจากตัว “บุคคล” สู่ “วัด” “ชุมชน” และ “พื้นที่สาธารณะ” การมีศิลปะในพื้นที่สาธารณะและเครือข่าย ค ศิลปิน และกิจกรรมส่งเสริมศิลปะเชิงสร้างสรรค์ทาให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาเมืองศิลปะเชิง สร้างสรรค์ในล้านนา โดยมีเชียงรายเป็นเมืองต้นแบบของการพัฒนาเมืองศิลปะและขยายไปสู่8 จังหวัดในล้านนา ๔. การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนานั้น มี การดาเนินการควบคู่กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนาเดิมกับการเยี่ยมชมศิลปะของ ศิลปินรุ่นใหม่หรือหอศิลป์ในล้านนา ซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเที่ยวชมและซื้อผลิตภัณฑ์ด้าน ศิลปะมากขึ้น ๕. การเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนาประกอบด้วย เครือข่ายภาครัฐ เอกชน ศิลปิน สถาบันการศึกษา และสมาคมการท่องเที่ยว โดยมีจะต้องมีการพัฒนา กิจกรรมส่งเสริมศิลปะในทุกรูปแบบทั้งศิลปะแบบดั้งเดิม ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะเพื่อสังคม การมี กิจกรรมศิลปะ หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สถาบันการพัฒนาศิลปะเชิงสร้างสรรค์ จนถึงนโยบายและ ยุทธศาสตร์ของภาครัฐ จะทาให้เกิดการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ ๖. รูปแบบการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ของล้านนานั้น มาจากแนวคิดเมืองศิลปะ ในญี่ปุ่นและเมืองศิลปะทั่วโลก แล้วพัฒนาเป็นนโยบาย ยุทธศาสตร์ของภาครัฐ การทางานของศิลปิน ผู้สร้างสรรค์ การสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน ซึ่งผลงานศิลปะนั้นจะต้องมีความหลากหลายทั้งใน ด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เช่น การแสดง การละเล่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาเมือง เป็นต้น ซึ่งในกลุ่มจังหวัดล้านนา 8 จังหวัด ถือว่าได้มีจุดเริ่มต้นและกาลังดาเนินการพัฒนาเมืองเชิงสร้างสรรค์ต่อไปen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์en_US
dc.subjectล้านนาen_US
dc.titleการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนาen_US
dc.title.alternativeThe Development of Creative Art City in Lannaen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-013พระสุธีรัตนบัณฑิต (ศิลปะ).pdf37.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.