Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/646
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สงกาผัน, ศตวรรษ | - |
dc.contributor.author | บุญรัตน์, สามารถ | - |
dc.contributor.author | ชยวุฑโฒ, พระมหาสุดใจ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-26T08:37:01Z | - |
dc.date.available | 2022-03-26T08:37:01Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/646 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองและโครงสร้างอำนาจผู้นำในจังหวัดเลย” ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการได้แก่ ๑) เพื่อศึกษาหลักการบริหารและโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดเลย ๒) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองภายใต้โครงสร้างอำนาจผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดเลย และ ๓) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองและโครงสร้างอำนาจของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย การวิจัยนี้เป็นแบบการวิจัยผสานวิธี (Mix Methodology Research) ระหว่าง การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) โดยผู้วิจัยได้กำหนดไว้ ๒ รูปแบบ ได้แก่ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ๓๐ คน เลือกแบบเจาะจง และประชากรกลุ่มตัวอย่างประมาณ ๔๐๐ คน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดการแจกแบบสอบถามจากประชาชนที่มาใช้บริการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๑๗ อปท/ละ ๒ อำเภอ/ละ ๑๗ อปท อปท/ละ ๑๐ ชุด โดยการนำข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ พร้อมทั้งนำเสนอผลสรุปการวิจัยและอภิปรายผล ผลการวิจัยพบว่า ๑. การกำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย พบว่า จากการใช้แนวคิด ทฤษฎี และมาตรฐานทางคุณธรรม ๗ ประการ กับหลักความเหมาะสม ได้แก่ ซึ่งสามารถจำแนกหลักการที่สอดคล้อง ประกอบด้วย ๑) หลักการเป็นผู้รู้จักเหตุ การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย ๒) หลักการเป็นผู้จักผล คือ การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร ๓) หลักการรู้จักตน คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ๔) หลักการรู้จักประมาณ คือ การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ ๕)หลักการรู้จักชุมชนสังคม คือ การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วนถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ๖)หลักการรู้จักกาลเวลา การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบได้ทุกสถานการณ์ไม่จำกัดเวลา ๗)หลักการรู้จักบุคคล การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับ ข ซ้อน การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นประพฤติตนเป็นพลเมืองที่ดีร่วมกันพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่คู่คุณธรรมและดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ๒. สภาพปัญหาและอุปสรรคการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย พบว่า ผลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญ มีประเด็นสภาพปัญหาและอุปสรรค ประกอบด้วย ๖ ประการใหญ่ๆ ได้แก่ ๑. ประเด็นปัญหาที่มาจากตัวของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒.ประเด็นปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างผู้นำและพวกพ้อง ๓.ประเด็นปัญหาการขาดความตระหนักในการให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรม ๔.ปัญหาการขาดกลไกในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างวัฒนธรรมของผู้นำ ๕.ปัญหาเรื่องความเสื่อมศรัทธาจากประชาชนในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ๖.ปัญหาการขาดความรับผิดชอบในการบริหารจัดการ ๓. แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย พบว่า จะต้องสร้างสถาบันเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมสำหรับนักการเมือง เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดเรื่องระเบียบ ราชการต่าง ๆ การควบคุมความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของนักการเมือง การถูกลงโทษตามลักษณะของความผิดนั้น ลักษณะของการสื่อสารองค์กร ซึ่งเป็นการถ่ายทอดอุดมการณ์หลักการปฏิบัติ พันธกิจ วิสัยทัศน์ และแนวทางการดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมของผู้นำที่ได้ให้ความสำคัญจะต้องกำหนดนโยบายเพื่อรับรู้ของบุคลากรและประชาชนให้เห็นเป็นรูปธรรมเพื่อการแสดงให้เห็นว่าผู้นำได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งทางการบริหารสูงสุดในองค์กร จะต้องการสร้างองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถาบันทางการเมืองเข้ามาช่วยในการกำหนดองค์ความรู้ที่จะต้องเกิดจาการฝึกอบรม การให้การศึกษาผู้นำทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดหลักสูตรอบรมให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบพลเรือน ให้มีความพร้อมทางด้านร่างกาย เพื่อให้ความสมดุลของร่างกาย สามารถบริหารเรื่องงบประมาณได้ เพิ่มกำลังพลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ โดยปรับตัวในสภาพพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกลความเจริญได้เป็นอย่างดี | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การเปลี่ยนแปลง | en_US |
dc.subject | วัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | การเมือง | en_US |
dc.subject | ผู้นำ | en_US |
dc.subject | โครงสร้าง | en_US |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองและโครงสร้างอำนาจผู้นำในจังหวัดเลย | en_US |
dc.title.alternative | Changing of Political Culture and Power Structure of Leadership in Loei Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-133 นายศตวรรษ สงกาผัน.pdf | 5.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.