Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/645
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนริสฺสโร, พระมหาเสรีชน-
dc.contributor.authorภูวชนาธิพงศ์, กมลาศ-
dc.contributor.authorบุตรเคน, สุกิจจ์-
dc.date.accessioned2022-03-26T08:34:35Z-
dc.date.available2022-03-26T08:34:35Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/645-
dc.description.abstractรายงานการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนา หมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนา (พุทธ คริสต์ อิสลาม) ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบ หมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนา (พุทธ คริสต์ อิสลาม) และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบ การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนา (พุทธ คริสต์ อิสลาม) การศึกษาใน พื้นที่ภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักวิชาการ ประชาชนในชุมชน หรือหมู่บ้าน ในสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ จัด กิจกรรมทางศาสนา รวมทั้งสิ้นจำนวน ๔๐ รูป/ คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการวิจัย แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นองค์ความรู้ การศึกษาในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) โดย ใช้วิธีเชิงคุณภาพ ลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยกระบวนมีส่วนร่วม และวิธีวิจัยเชิงปริมาณขยาย ผลวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ และเยาวชนในพื้นที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๑๑ รูป/คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจการรับรู้ชุมชนสันติสุข แบบประเมินความพึงพอใจ การสัมภาษณ์เชิงลึก กิจกรรม เสวนา การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการจัดกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์สันติสุข วิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก การส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของ ศาสนามีหลายกิจกรรม เช่น การให้การศึกษาแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งเกี่ยวกับการถ่ายทอดทางสังคม ของหมู่บ้าน การส่งเสริมการศึกษาในระดับชุมชน เช่น การพัฒนาอาชีพ การนำความรู้ภายนอกเข้าสู่ ภายใน และการจัดการศึกษานอกระบบจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เน้นการฝึกการพัฒนาอาชีพ ข โดยไม่ขัดแย้งกับหลักการศาสนาแห่งตน รวมทั้งกิจกรรมที่มีบทบาททางสังคม เช่น สาธารณสุข สังคม สงเคราะห์ ส่งเสริมอาชีพ เผยแพร่ศาสนา และส่งเสริมประเพณี ทั้งนี้มีจุดร่วมที่ทำให้คนในชุมชนอยู่ ร่วมกันอย่างสันติในท่ามกลางความแตกต่างทางวัฒนธรรม ได้แก่ ๑) การให้ความรัก และความผูกพัน ที่มีต่อกัน ๒) การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ๓) การให้ความเมตตา ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ๔) การ สร้างความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกัน และมีการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการส่งเสริมกิจกรรม ตามหลักศาสนาบูรณาการให้เข้าใจวิถีชีวิตเชิงพหุวัฒนธรรม การปลูกจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกันผ่าน กลุ่มเยาวชนให้เห็นคุณค่ามรดกวัฒนธรรมของชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมเป็นมัคคุเทศก์แนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว และวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน เป็นต้น ประการที่ ๒ การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาด้วย วิธีการอบรมศีลธรรม ส่งเสริมให้เกิดการเคารพ และตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนในกลุ่มคนต่าง ๆ ให้การศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และชุมชน มีการ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน เกิดการอยู่ร่วมกันอย่าง สันติของชุมชน ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเชื่อ จัดระบบการศึกษาแบบวิถี ซาเลเซียน เน้นให้มีความรู้ควบคู่คุณธรรม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองเป็นอย่างมากในการส่งเสริม บุตรหลานเข้ามาเรียน ด้านสังคม มุ่งเน้นการสงเคราะห์ มุ่งช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกลที่มี ฐานะยากจน เป็นต้น จากการสำรวจและถอดบทเรียนพื้นที่ชุมชน การประชุมกลุ่มย่อยและการ เสวนาพบว่า ถึงแม้จะนับถือศาสนาต่างกันแต่ชุมชนก็อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเอื้ออาทร ต่อกัน เคารพในสิทธิ และตระหนักในหน้าที่ของแต่ละคน และยึดคำสอนตามหลักศาสนาของตนใน การดำเนินชีวิต ชุมชนให้ความสำคัญกับเยาวชนว่าเป็นผู้สมควรได้รับการส่งเสริม และปลูกฝังวิถีการ ดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม มีน้ำใจกับคนในชุมชน รักษาประเพณีอันดีงาม และร่วมกัน ดูแลมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อไป ประการที่ ๓ รูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนา (พุทธ คริสต์ อิสลาม) พบว่าความสัมพันธ์อันดีของศาสนิกทั้ง ๓ ศาสนาอันตั้งอยู่บนฐานแห่งการรู้และ เข้าใจชุมชนของตนเองอย่างแท้จริงจะเป็นพลังขับเคลื่อนอย่างมหาศาลให้ชุมชนได้พัฒนาก้าวหน้าไป อย่างรวดเร็ว หัวหน้าชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสน สัมพันธ์เป็นเบื้องต้นก่อน แล้วจึงพัฒนาองค์ประกอบ ๕ รูปแบบ ได้แก่ ๑) การจัดการทรัพยากรชุมชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ๒) การแลกเปลี่ยนพหุวัฒนธรรมที่เป็นไปอย่างสันติ ๓) การปกครองส่วน ท้องถิ่นที่เอื้อสำหรับศาสนิกชนทั้ง ๓ ศาสนา ๔) การจัดการความขัดแย้ง และ ๕) การสร้างอัตลักษณ์ ของหมู่บ้านต้นแบบสันติสุข ส่วนคนในชุมชนต้องสำนึกรักถิ่นฐานตนเอง หมั่นปลูกฝังวิธีการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข คือ ๑) การเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ ๒) การรู้หน้าที่ของตนเอง ๓) การช่วยเหลือกัน ค การแสดงความมีน้ำใจกับคนในชุมชน และคนรอบข้าง ๔) การเกื้อกูลกัน และ ๕) การทำกิจกรรม ชุมชนร่วมกันอย่างต่อเนื่องen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขen_US
dc.subjectหลักคำสอนของศาสนาen_US
dc.subjectการอยู่ร่วมกันของสังคมen_US
dc.titleการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนา (พุทธ คริสต์ อิสลาม)en_US
dc.title.alternativeThe Development of a Village Model of Peace Regarding Religious Teachings (Buddhism, Christian and Islam)en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-012พระมหาเสรีชน นริสฺสโร.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.