Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/642
Title: | การพัฒนานวัตกรรมเชิงชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืน ตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำพูน |
Other Titles: | Development of Community Innovation Care for Sustainable Elderly with Disabilities Based on Buddhism of Local Administrative Organizations in Lamphun Province |
Authors: | ปัญโญ, อาภากร พืชทองหลาง, ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง, ประทีป |
Keywords: | การดูแลผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นวัตกรรมเชิงชุมชน |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบพหุภาคี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ องค์กรปกครองท้องถิ่น ๓ แห่ง ในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ได้แก่ เทศบาลตำบลวังดิน เทศบาลตำบลดงดำ และเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ๑) ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น ๑๕ คน ๒) ผู้สูงอายุ ๖๐ คน ๓) ชาวบ้านที่มาทำจิตอาสา ๖๐ คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแนวทางการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑. ผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างเป็นอิสระ ต้องการความช่วยเหลือหรือเฝ้าระวังจากบุคคลอื่น ผู้มีบทบาทสำคัญ คือ บุคคลในครอบครัว ลูกหลาน เป็นต้น ทั้งนี้ต้องอาศัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายในการช่วยเหลือด้านสวัสดิการ ๒. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี ๕ ประการ คือ ๑) บทบาทตามพระราชบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ๒) บทบาทตามนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับจังหวัด ๓) บทบาทตามแผนงานและยุทธศาสตร์ท้องถิ่น ๔) บทบาทการจัดสวัสดิการตามพระราชบัญญัติเกี่ยวกับผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ตามมาตรา ๑๑ และ ๕) บทบาทการผลักดันแกนนำและสร้างจิตอาสา ๓. นวัตกรรมเชิงชุมชนที่เกิดขึ้น เรียกว่า “จิต (มหาจุฬาฯ) อาสา” หรือ VMCU Model มี ๔ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑) ประชาชนจิตอาสา (Volunteer) ๒) พัฒนาและสร้างกำลังใจ (Moral Support) ๓) ห่วงใยและเกื้อกูล (Caring) ๔) หนุนเสริมสิ่งอำนวยความสะดวก (Universal Design) นวัตกรรมนี้สามารถขับเคลื่อนโดยกลุ่มจิตอาสาภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่นโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/642 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-041อาภากร ปัญโญ(ย่อย3).pdf | 8.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.