Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/641
Title: การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้าโขง
Other Titles: Creative Management of Cultural Heritage with Participation of Mekong Community
Authors: ดวงขันเพ็ชร, ทองคำ
ขนฺติธโร, พระเดชขจร
Keywords: การจัดการ
มรดกทางวัฒนธรรม
การมีส่วนร่วม ของชุมชน
ลุ่มน้ำโขง
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนลุ่มน้้าโขง ๒) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีความร่วมของชุมชนลุ่มน้้าโขง ๓) เพื่อสร้างจิตส้านึกในการอนุรักษ์ รักษามรดกทางวัฒนธรรมประเพณีให้ด้ารงอยู่คู่ชุมชนลุ่มน้้าโขง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในรูปแบบการวิจัย R&D โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลส้าคัญ ๓๖ รูป/คน และจัดโครงการสร้างจิตส้านึกในการอนุรักษ์ชุมชน ๓๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า แล้วน้าเสนอเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ๑. องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนลุ่มแม่น้้าโขง (๑) ประวัติหลวงพ่อพระใส หลวงพ่อองค์ตื้อ หลวงพ่อพระเสี่ยง ซึ่งทั้ง 3 องค์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลุ่มน้้าโขงมาอย่างยาวนาน (๒) ประเพณีสรงน้้าหลวงพ่อพระใส หลวงพ่อองค์ตื้อ หลวงพ่อพระเสี่ยง เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่ถูกสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และสามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภาคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (๓) ประเพณีบั้งไฟเสี่ยงหลวงพ่อพระใส หลวงพ่อองค์ตื้อ หลวงพ่อพระเสี่ยง เป็นงานบุญเดือน ๖ หรือบุญบั้งไฟประชาชนลุ่มน้้าโขง เรียกว่า “เบิกแถนบูชาไฟ” ๒. รูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์และมีความร่วมของชุมชนลุ่มแม่น้้าโขง (๑) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมให้ข้อมูล/ความรู้ (๒) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมท้ากิจกรรม (๓) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมวางแผนพัฒนา (๔) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมอนุรักษ์ (๕) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมในกิจกรรมโครงการที่จัด โดยผ่านรูปแบบ ได้แก่ (๑) รูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้้าโขงผ่านการขับเคลื่อนผลักดันโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ (๒) รูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้้าโขงโดยภาครัฐ (๓) รูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้้าโขงโดยวัดและชาวบ้าน ๓. การสร้างจิตส้านึกในการอนุรักษ์ รักษามรดกทางวัฒนธรรมประเพณีให้ด้ารงอยู่คู่ชุมชนลุ่มแม่น้้าโขง (๑) การประกวดบทความการสร้างจิตส้านึกในการอนุรักษ์ รักษาวัฒนธรรมประเพณี การสนับสนุนให้เกิดการสร้างจิตส้านึกในการอนุรักษ์ (๒) การประกวดค้าขวัญการสร้างจิตส้านึกในการอนุรักษ์ รักษาวัฒนธรรมประเพณี โดย ขนบท้าเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของคนไทย (๓) การรับฟังแนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ รักษาวัฒนธรรมประเพณี วัฒนธรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการด้าเนินชีวิต
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/641
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-036ผศ.ดร.ทองคำ ดวงขันเพ็ชร.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.