Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/640
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปัญโญ, อาภากร-
dc.contributor.authorพืชทองหลาง, ประทีป-
dc.date.accessioned2022-03-26T08:23:16Z-
dc.date.available2022-03-26T08:23:16Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/640-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบกลไกชุมชน พัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนจิตอาสาเพื่อดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และสร้างนวัตกรรมเชิงชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ องค์กรปกครองท้องถิ่น ๓ แห่ง ในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ได้แก่ เทศบาลตำบลวังดิน เทศบาลตำบลดงดำ และเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น ๑๕ คน ๒) ผู้สูงอายุ ๖๐ คน ๓) ชาวบ้านที่มาทำจิตอาสา ๖๐ คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแนวทางการสนทนากลุ่ม การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑. กลไกของชุมชนในการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๕ กลุ่ม ได้แก่ ๑) ชมรมผู้สูงอายุ ๒) กลุ่มจิตอาสา ๓) องค์กรศาสนา ๔) กลุ่มองค์กรชุมชน และ ๕) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การขับเคลื่อนกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมจำเป็นจะต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานร่วมกันของกลุ่มดังกล่าว โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนกลางในการประสานและระดมความคิดในการสร้างสรรค์กิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่า การมีส่วนร่วมกับสังคม การรับผิดชอบต่อสังคม การฝึกทักษะพัฒนาตนเองและมีจิตอาสานำพาสังคมผู้สูงวัยให้เป็นสังคมแห่งความสุขได้อย่างแท้จริง ๒. การพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนจิตอาสาเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมีองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ คือ วิชาชีวิต วิชาชีพ และวิชาการ โดยบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ 4 มิติ คือ (1) มิติทางกาย-ศีลสิกขา (2) มิติทางสังคม-ศีลสิกขา (3) มิติทางจิตใจ-สมาธิสิกขา (4) มิติทางปัญญา-ปัญญาสิกขา การดูแลของชุมชนจิตอาสาด้วยจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้สูงอายุมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่ทุกข์กับความเจ็บป่วย ทำชีวิตให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรงและสมรรถภาพสมบูรณ์ ๓. นวัตกรรมเชิงชุมชนที่เกิดขึ้น เรียกว่า “จิต (มหาจุฬาฯ) อาสา” หรือ VMCU Model มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ประชาชนจิตอาสา (Volunteer) 2) พัฒนาและสร้างกำลังใจ (Moral Support) 3) ห่วงใยและเกื้อกูล (Caring) 4) หนุนเสริมสิ่งอำนวยความสะดวก (Universal Design) นวัตกรรมนี้สามารถขับเคลื่อนโดยกลุ่มจิตอาสาภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่นโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไปen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมen_US
dc.subjectระบบกลไกชุมชนen_US
dc.subjectชุมชนจิตอาสาen_US
dc.subjectนวัตกรรมเชิงชุมชนen_US
dc.titleนวัตกรรมเชิงชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืน ตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeCommunity-based innovation with sustainable healthcare towards the elderly with disabilities in accordance with the Buddhism of Lamphun Local Administrative Organizationen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-041อาภากร ปัญโญ.pdf9.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.